(0)
พระระฆังหลังค้อน หล่อหนา








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระระฆังหลังค้อน หล่อหนา
รายละเอียดพระระฆังหลังค้อนจัดเป็นพระเครื่องขนาดเล็กมีขนาดความกว้างประมาณ1.3ซม.สูงประมาณ
2 ซม.ด้านหน้าปรากฏพุทธลักษณะเป็นรูปพระปฏิมากรปางสมาธิ ประทับบนอาสนะบัว 2 ชั้น ระหว่างพระเพลา กับอาสนะมีฐานเขียงกั้น องค์พระอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ผนังพื้นด้านหน้าข้างองค์พระจะปรากฏใบโพธิ์ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม รายรอบพระเศียร ด้านหลังเป็นพื้นเรียบ ตรงกลางมักมีรอยบุ๋มเป็นแอ่ง คล้ายรอยค้อนที่ใช้ตบแต่งพื้นด้านหลังพระหลังจากที่หล่อให้เรียบร้อยอันเป็นที่มาของชื่อที่ใช้เรียกขานพระพิมพ์นี้ บางองค์ที่หลังเรียบสนิท จะมีรอยตะไบตบแต่ง เพื่อให้พระเรียบร้อยสวยงาม เนื้อหาของพระระฆังหลังค้อน เป็นพระเครื่องเนื้อโลหะทองผสม แก่ทองเหลือง การหล่อนั้น ส่วนใหญ่จะนำแผ่นยันต์ของพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี และชนวนหล่อพระของเก่าที่ใช้หล่อในพิธีสำคัญต่าง ๆ ในสมัยนั้น มาร่วมหล่อด้วย
สำหรับผู้สร้างในปัจจุบันยังแบ่งความเชื่อออกเป็น 2 กระแส กระแสหนึ่งว่า สร้างโดยและปลุกเศกอาจารย์พา พระลูกวัดระฆังฯ แล้วหลังจากนั้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(มรว. เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นเพียงผู้นำมาแจกจ่าย
ส่วนอีกกระแสหนึ่งเห็นว่า การหล่อพระแบบโบราณ มีพิธีการสร้างที่ยุ่งยากและซับซ้อน ยิ่งเป็นการสร้างพระหล่อในยุคสมัยนั้น นับเป็นเรื่องใหญ่โตมาก อาจารย์พา เป็นเพียงพระลูกวัดไม่น่าที่จะทำสำเร็จได้เพียงลำพัง
ซึ่งหากประมูลข้อมมูลตามหลักฐานที่ปรากฏจึงน่าจะเป็นการดำเนินการของพระอาจารย์พา ในฐานะแม่งานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานแทนสมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ ซึ่งมีอายุมากเข้าสู่บั้นปลายของชีวิต และเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ส่วนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์น่าจะมีส่วนร่วมในการจัดหาวัสดุอุปรณ์ให้พอเพียงแก่การสร้างพระเป็นจำนวนมาก อีกทั้งช่วยนิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมาร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ซึ่งพระระฆังหลังฆ้อนมีการสร้างขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรก สร้างและประกอบพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดระฆังโฆษิตาราม ส่วนครั้งต่อมา ประกอบพิธีกันที่หอกลาง คณะ1 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
หากจะแยกแยะถึงพระที่หล่อในครั้งแรกและครั้งที่2 ดูจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีจำนวนพระมากและหล่อด้วยกรรมวิธีโบราณและมีหลายพิมพ์ทรง ส่วนใหญ่นักสะสมจะแยกแยะจากกระแสเนื้อหาของพระเป็นหลัก โดยพระที่จัดสร้างขึ้นครั้งแรกกระแสเนื้อจะออกเหลืองแบบทองดอกบวบ บางองค์จะออกกระแสเหลืองอมเขียว ส่วนที่สร้างในครั้งต่อมา กระแสเนื้อจะออกสีเหลืองอ่อน ส่วนพระที่กระแสเนื้อออกแดงเข้มคล้ายสีทองแดงเถื่อนหรือที่เรียกว่าเป็นเนื้อสัมฤทธิ์เท่าที่พบเข้าใจว่าเป็นเนื้อโลหะก้นเบ้าไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นพระที่สร้างครั้งแรกหรือครั้งหลัง
ประวัติของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(มรว. เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา ) องค์นี้เป็นคนละองค์กับ สมเด็จฯ แห่งวัดเทพศิรินทร์ และเขาบางทรายที่มีความสัมพันธ์เป็นองค์อุปัฌาช์ของท่านเจ้าคุณนรฯ
ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นโอรสของหม่อมเจ้าถึก ในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา
เกิดที่บ้านบางอ้อ จังหวัดนครนายก เป็นที่ซึ่งบิดาตั้งบ้านเรือนอยู่จวบจนในรัชสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงย้ายตามบิดาเข้ามาในพระนคร และเริ่มต้นเรียนอักขระสมัยในสำนักบิดาก่อน แล้วจึงเรียนบาลีที่สำนักอาจารย์จีน จนมีอยุได้ 7 ชันษา หม่อมเจ้าถึกจึงนำเข้าถวายเป็นศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) แห่งวัดระฆังเมื่อครั้งยังเป็นเปรียญอยู่ที่วัดระฆังและต่อมาได้เรียนพระปริยัติธรรมที่สำนักนี้ และอีกหลายสำนักเช่น สำนักพระอมรเมธาจารย์(เกษ), สำนักหม่อมเจ้าชุมแสงผู้เป็นลุง, สำนักพระโหราธิบดี(ชม) นอกจากนี้ที่สำคัญยังได้ร่ำเรียนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระวันรัตน์ (แดง) แห่งวัดสุทัศน์จนถึงปีพศ.2413 จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดระฆังโฆษิตาราม จนกระทั่งอายุครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับเป็นนาคหลวง และได้อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) โดยมีหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทธ์เป็นองค์อุปัชฌาช์มีฉายาว่า ญาณฉันโท โดยทางการศึกษาท่านสามารถสอบเปรียญ 3 ได้ตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่อปี พศ.2413 และต่อมาในปี พศ. 2419 สามารถสอบได้เปรียญ 4 พศ.2425 สอบได้เปรียญ5
จากนั้นเมื่อถึงพศ. 2430 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามพิเศษ(โดยปรกติตำแหน่งของพระจะมีราชทินนามอยู่แล้วเช่นสมเด็จพระพุทโฆษาจารย์ ราชทินนามพิเศษเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่เท่านั้น)ที่ พระราชานุพัทธมุนี โปดให้อาราธนาไปครองวัดโมลีโลกยารามเป็นปฐม และต่อมาในปี พศ.2435 หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒจารย์(ทัด)ย้ายไปครองวัดพระเชตพนฯ จึงอาราธนาให้ท่านมาครองวัดระฆังฯจากนั้นเป็นต้นมา
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,450 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 19 พ.ค. 2557 - 21:22:34 น.
วันปิดประมูล - 20 พ.ค. 2557 - 22:09:18 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลarinnick (440)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,450 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    siriwan (143)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM