(0)
รูปหล่อ"หลวงพ่อเงิน"พิมพ์ขี้ตา วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อฟุ้ง(พระครูวัตฏสัมบัญ)สร้าง เนื้อทองผสม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องรูปหล่อ"หลวงพ่อเงิน"พิมพ์ขี้ตา วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อฟุ้ง(พระครูวัตฏสัมบัญ)สร้าง เนื้อทองผสม
รายละเอียดรูปหล่อ"หลวงพ่อเงิน"พิมพ์ขี้ตา(ตามรูป) ซึ่งจัดสร้างขึ้นโดย"หลวงพ่อฟุ้ง"อดีตเจ้าอาวาสแห่งวัดท้ายน้ำ จัดเป็นพิมพ์หนึ่งซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เมื่อเห็นก็สามารถจะทำความเข้าใจและจดจำได้ง่าย ถ้าหากเป็นนักอนุรักษ์และสะสมพระเครื่องในสายหลวงพ่อเงิน โดยโครงสร้างของแบบพิมพ์จะมีความใกล้เคียงกันกับรูปหล่อ"หลวงพ่อเงิน"พิมพ์ขี้ตา แห่งวัดบางคลาน แต่จะแตกต่างกันในของเรื่องรายระเอียดปลีกย่อยเท่านั้น เหมือนเช่นการแบ่งแยกแม่พิมพ์รูปหล่อ"หลวงพ่อเงิน"พิมพ์ขี้ตาของทางวัดบางคลานนั่นเอง อนึ่งสำหรับพิมพ์ขี้ตาของทางวัดท้ายน้ำพิมพ์นี้ เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากนัก หลายคนก็ไม่ทราบว่าสร้างมาจากวัดไหน และเกจิอาจารย์ใดเป็นผู้สร้าง นอกจากนี้ก็ยังมีบางท่านเล่นหาสะสมกันไปเป็นของทางวัดบางคลานด้วยซ้ำ โดยเรียกว่า"พิมพ์ขี้ตาสามชายจีวรคว่ำ" แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังพบเห็นผู้มีชื่อเสียงหลายท่านอยู่เหมือนกัน ที่นำพิมพ์นี้แขวนขึ้นคอบูชาและจัดเข้าทำเนียบพิมพ์ขี้ตาฝั่งวัดบางคลานกันไปเลย(ตามเว็บและในหนังสือพระเครื่องบางเล่มก็มีลง) ถามว่าผิดไหม ถ้าให้ตอบกันตรงๆก็ต้องบอกว่าไม่ผิดมากสักเท่าไหร่ เนื่องจากว่า"หลวงพ่อฟุ้ง" ก็ถือเป็นศิษย์ที่มีความใกล้ชิดกับ"หลวงพ่อเงิน" สรุปง่ายๆว่าหลวงพ่อเงิน ท่านก็จะไปมาหาสู่กับทางวัดท้ายน้ำเป็นประจำเสมออยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อทางท่านหลวงพ่อฟุ้ง ได้ดำเนินการจัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินในรูปแบบต่างๆออกมา แน่นอนว่าก็ย่อมจะได้รับความเมตตาจาก"หลวงพ่อเงิน"มาอธิษฐานจิตปลุกเสกให้อย่างแน่นอน แบบไม่ต้องสงสัย ในขณะที่แบบแม่พิมพ์ ก็จะสามารถแลเห็นได้ว่ามีการขอยืมแบบแม่พิมพ์ขี้ตาสามชาย(ไม่ใช่บล็อคแม่พิมพ์)ของทางวัดบางคลานมาเป็นเค้าโครงในการจัดสร้าง หรืออาจจะจัดสร้างขึ้นที่วัดบางคลานพร้อมพิมพ์ขี้ตาในแบบอื่นๆดังที่เราทราบกันเป็นมาตราฐาน แต่ได้นำเฉพาะบล็อคนี้มาออกให้ทำบุญที่วัดท้ายน้ำ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงเช่นเดียวกัน(เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน) เนื่องจากเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ช่างผู้ทำการหล่อพิมพ์ขี้ตาขึ้นมาก็อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับวัดบางคลานนั่นเอง และพิมพ์ขี้ตาของวัดท้ายน้ำนี้ก็มีความเป็นไปได้สูงอีกเช่นเดียวกันที่อาจจะเป็นการสร้างพิมพ์ขี้ตาในลักษณะของการขึ้นช่อชนวนเป็นครั้งแรก ที่ไม่ใช่เป็นการเทหล่อแบบพิมพ์เบ้ากระดกหรือพิมพ์เบ้าประกบ ที่ทำการเทหล่อให้เป็นรูปองค์พระขึ้นมาทางบริเวณก้นฐานเหมือนกับบล็อคอื่นๆของทางวัดบางคลาน ถามว่าทำไม ก็เพราะเนื่องจากเท่าที่ได้พอสัมผัสและพบเห็นพิมพ์นี้มาพอประมาณ ก็จะทำให้ทราบว่าในรายละเอียดต่างๆของพิมพ์ขี้ตาวัดท้ายน้ำนี้จะมีความเหมือนในความต่างกันอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวดังที่ได้กล่าวไปจริงๆดังนี้คือ ทางด้านหน้าและด้านหลัง อาจจะไม่อธิบายสักเท่าไหร่ เพราะแทบไม่ต่างกัน พิมพ์นี้เพียงแค่เห็นทางด้านหลังก็จะทราบได้โดยพลันว่าเป็นของวัดท้ายน้ำแน่นอน แต่ความเหมือนที่ว่าก็คือทางด้านก้นฐาน ลองสังเกตุกันให้ดีก็จะพบว่ามีลักษณะที่เหมือนกันในเกือบทุกองค์ อาจมีความผิดเพี้ยนไปบ้างก็ไม่มาก ทว่าก็ยังจะรักษาเค้าโครงพิมพ์เอาไว้ นั่นก็หมายความว่ารูปหล่อพิมพ์ขี้ตานี้จะต้องมีการถอดแบบพิมพ์ออกมาจากแบบแม่พิมพ์ทั้งหมดองค์ก่อนจากต้นแบบ(รวมไปถึงทั้งในบริเวณก้นฐาน) เหมือนกับพิมพ์นิยม แล้วทำการเทหล่อแบบมีก้านชนวนดังที่กล่าวไป แต่ก้านชนวนจะไม่ใหญ่ประมาณเท่าก้านดินสอเหมือนกับพิมพ์นิยม แต่จะเล็กลงมาเหลือประมาณใหญ่กว่าใส้ดินสอประมาณสักสองเท่า โดยจะอยู่บริเวณริมขอบข้างทางก้นฐานด้านหนึ่ง(ซึ่งองค์นี้ก็มีและเห็นชัด)หลังจากเมื่อตัดก้านเดือยชนวนแล้ว ก็จะทำการตบแต่งด้วยตะไบ แต่ไม่มากนัก เนื่องจากพิมพ์นี้มีการเทหล่อค่อนข้างออกมาดีมาก(ช่างน่าจะมีฝีมือที่ชำนาญ อาจมาจากบ้านช่างหล่อ) ในขณะที่เราจะเห็นว่าไม่มีส่วนเกินจากรอยตะเข็บข้าง เนื่องจากได้มีการเก็บรายละเอียดไปเรียบร้อยแล้วในช่วงก่อนหน้า ตอนตบแต่งหุ่นเทียนขี้ผึ้ง(ลองสังเกตุหลายๆองค์ดูครับ)
สำหรับทางด้านเนื้อหา ก็จะเป็นประเภทโลหะที่เรียกว่าเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเป็นหลัก แต่ค่อนข้างจะมีความหลากหลายในเรื่องของสีสันวรรณะพอประมาณ ซึ่งบางองค์ก็มีกระแสออกเหลืองสุกแบบทองดอกบวบ(เคยเห็นสีแบบทองคำเปอร์เซ็นต์สูงก็มี) แบบสัมฤทธิ์กลับดำก็พบ สรุปว่าต้องพิจารณาจากองค์ประกอบรวม ส่วนองค์นี้ที่ได้นำมาลงเปิดประมูลจะมีเนื้อหาค่อนข้างจะสวยงามองค์หนึ่งเหมือนกัน ซึ่งจะพบว่าในเนื้อพระโดยรวมทั้งองค์นั้นจะสามารถแลเห็นเกร็ดสีทองเป็นจ้ำๆ เล็กบ้างใหญ่บ้างคละเคล้ากันไป ทำให้มีเสน่ห์ซึ้งนวลตาไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งถ้าท่านใดสนใจก็ขอให้รีบเก็บสะสมเอาไว้ เพราะเริ่มจะหาไม่ง่าย และคาดว่าอนาคตราคาจะมีเพดานขยับขึ้นไปมากกว่าในปัจจุบันนี้(โดยส่วนตัวก็มีเก็บไว้และก็แบ่งๆให้กันบ้างในบางโอกาส)
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 17 มี.ค. 2558 - 00:14:42 น.
วันปิดประมูล - 18 มี.ค. 2558 - 22:32:51 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลporavanan (205)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    tahanlom (453)

 

Copyright ©G-PRA.COM