(0)
ตำนานพระกรุ.....พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์เล็บมือสมาธิ เนื้อผงใบลาน จ.กรุงเทพฯ พิมพ์นี้เป็นอีกพิมพ์ที่พบน้อยครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องตำนานพระกรุ.....พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์เล็บมือสมาธิ เนื้อผงใบลาน จ.กรุงเทพฯ พิมพ์นี้เป็นอีกพิมพ์ที่พบน้อยครับ
รายละเอียดตำนานพระกรุ.....พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์เล็บมือสมาธิ เนื้อผงใบลาน จ.กรุงเทพฯ พิมพ์นี้เป็นอีกพิมพ์ที่พบน้อยครับ
ผิวระเบิดจากในกรุเดิมๆ คล้ายสมเด็จปิลันท์ ทำให้พิจารณาแลดูง่ายสบายตาครับ สภาพน่ารัก ใส่ตลับสแตนเลส อย่างดีพร้อมใช้ครับ

...หนึ่งในพระกรุเนื้อผงหลักของเมืองไทย พุทธคุณเยี่ยมเชื่อถือได้ครับ...พระกรุเนื้อผงยอดนิยม จะถูกบรรจุไว้ในรายการประกวดพระเครื่องงานใหญ่ๆอยู่เสมอ 5 รายการคือ (ไม่นับชุดเบญจภาคี) 1.พระสมเด็จปิลันทร์ 2.พระกรุวัดพลับ 3.พระกรุวัดสามปลื้ม 4.พระกรุวัดท้ายตลาด 5.พระกรุวัดเงินคลองเตย.

..."พระกรุวัดท้ายตลาด" มีกรุใหม่แตกกรุออกมาอีก ได้แก่ กรุวัดตะล่อม และกรุวัดบางสะแก พระกรุวัดท้ายตลาด นอกจากที่พบขึ้นจากกรุครั้งแรก ณ วัดท้ายตลาด เมื่อปี พ.ศ.2480 ต่อมายังพบว่าขึ้นจากกรุอีกหลายครั้งหลายคราด้วยกัน เช่น ที่วัดนางชี วัดตะล่อม เป็นต้น องค์นี้เป็นกรุเก่า(กรุวัดท้ายตลาด) เพราะมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน.
สำหรับที่ได้จากรุวัดท้ายตลาด นิยมเรียกว่า “พระกรุเก่า” ลักษณะเป็นเนื้อผงผสมว่านเกสรดอกไม้ รวมทั้งผงใบลานเผา เนื้อพระจึงมีสีค่อนข้างออกเขียวอมดำ หรือเท่าแก่ พระกรุเก่า มีคราบกรุค่อนข้างบาง ทำให้ได้รับความนิยมมากกว่ากรุอื่น ที่ขึ้นภายหลัง ซึ่งพระที่ได้ส่วนใหญ่ จะปรากฏคราบกรุเกาะกุมค่อนข้างหนา


..."พระกรุวัดท้ายตลาด" มีพุทธคุณสูงทางด้านเมตตาและแคล้วคลาด และยังแฝงทางด้านคงกระพันไว้ด้วย เช่นเดียวกับพระสมเด็จปิลันทร์ พระกรุวัดพลับ และพระกรุวัดสามปลื้ม.

ประวัติคร่าวๆครับ

พระกรุวัดท้ายตลาด ปัจจุบันวัดนี้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดโมลีโลก
เป็นแหล่งกำเนิดพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่งดงาม ผู้สร้างพระกรุนี้คือ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)สร้างไว้ประมาณปีพ.ศ.2362
(ปลายรัชกาลที่2)เชื่อกันว่ามีจำนวนมากถึง84000องค์
และมีจำนวนพิมพ์มากกว่า50พิมพ์ ซึ่งสร้างความประทับใจ
แก่นักนิยมพระเป็นอย่างมากและสันนิฐานว่าช่างหลวงจากราชสำนัก
ต้องมีส่วนช่วยในการจัดสร้างด้วย พระวัดท้ายตลาดแตกกรุ
ประมาณปี2480เป็นพระเนื้อผงทั้งหมดทำด้วยว่านและเกสร
ดอกไม้108ผสมกับปูนขาวและผงใบลานเผา เนื้อจึงมีสีค่อนข้าง เขียวอมดำ หรือเทาแก่จนใกล้ดำไปเลย พระทุกองค์ของสกุลนี้จะต้องมีตราอักขระ เลขยันต์ปั๊มแบบลึกนูนไว้ทุกองค์
มีพุทธคุณเต็มไปด้วยเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพัน ดีครับ
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน1,350 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 12 ม.ค. 2560 - 20:16:24 น.
วันปิดประมูล - 13 ม.ค. 2560 - 21:20:12 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmidori (5.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 12 ม.ค. 2560 - 20:16:38 น.



ผิวระเบิดจากในกรุเดิมๆ คล้ายสมเด็จปิลันท์ ทำให้พิจารณาแลดูง่ายสบายตาครับ สภาพน่ารัก


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 12 ม.ค. 2560 - 20:16:54 น.



วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำเลที่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หลังพระราชวังเดิม ในอดีตสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี บริเวณดังกล่าวนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ท้ายตลาด” หรือ “ท้ายพระราชวังเดิม” จึงนิยมเรียกขานวัดนี้กันว่า "วัดท้ายตลาด" และในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องทุกยุคทุกสมัยก็มักเรียกพระเครื่องจากกรุพระเจดีย์วัดนี้กันติดปากว่า "พระวัดท้ายตลาด" เช่นกัน

ย้อนไปในสมัยกรุงธนบุรี วัดท้ายตลาดนับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดฯ ให้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรียังทรงมีความผูกพันกับวัดท้ายตลาดมาโดยตลอด อาทิเช่น รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ อาราธนาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชทานนามวัดท้ายตลาดว่า "วัดพุทไธศวรรยาวาส” หรือ "วัดพุทไธศวรรย์" ต่อมาพระราชทานนามใหม่เป็น "วัดโมลีโลกยาราม" จนถึงปัจจุบัน และพระราชโอรสในพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ก็เสด็จไปศึกษาอักขระสมัยเบื้องต้นกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ที่วัดนี้ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 3 เมื่อคราวท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) พระราชกรรมวาจาจารย์ของพระองค์มรณภาพลง ทรงโปรดฯ ให้หล่อพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) 2 รูป “รูปเล็ก” บูชาอยู่ในหอพระเจ้า ส่วน “รูปใหญ่” ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอเพื่อเป็นที่ประดิษฐานไว้ที่วัดโมลีโลกยารามหรือวัดท้ายตลาด โดยเป็นการหล่อในโอกาสเดียวกับรูปหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชพระญาณสังวร (สุก) สังฆราชไก่เถื่อน ที่ วัดพลับ มาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ก็ยังมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามอย่างสม่ำเสมอ และในคราวที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จฯ พระราชทานพระกฐิน จะทรงเสด็จฯ ไปสักการะพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ทุกครั้ง

พระวัดท้ายตลาด มีการค้นพบเมื่อครั้งกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฎพระพิมพ์เนื้อผง จำนวนมากมายถึง 89,000 องค์ และมีหลายแบบหลายพิมพ์ ทั้ง พระพิมพ์ปางอุ้มบาตร พระพิมพ์ปางประทานพร พระพิมพ์ปางปรกโพธิ์ข้างเม็ด ปางโมคคัลลาน์-สารีบุตร ฯลฯ ซึ่งปางต่างๆ ดังกล่าว ล้วนเป็นคติการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเกิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น นอกจากนี้ พุทธลักษณะองค์พระนับเป็นการออกแบบที่ได้สัดส่วนงดงามและประณีต ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นฝีมือการสร้างในระดับ “ช่างหลวง” ที่สำคัญ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเหมือนอย่างโบราณกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการสร้างพระพิมพ์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนา จึงทรงโปรดฯ ให้ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพระพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ในพระพุทธประวัติ (นับรวมกับแบบเดิม 8 ปาง เป็น 40 ปาง ประดิษฐานไว้ในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) จึงสันนิษฐานได้ว่าพระวัดท้ายตลาด น่าจะสร้างขึ้นโดยรัชกาลที่ 3 และด้วยเหตุผลประการสุดท้าย คือ การจะสร้างพระได้จำนวนมากมายถึง 8 หมื่นกว่าองค์นั้น สามัญชนคนธรรมดาทั่วไปคงจะเป็นไปได้ยากมากแน่นอน
ในช่วงแรกๆ ที่กรุแตกนั้น พระวัดท้ายตลาดยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก จนเมื่อคราวเกิดสงครามอินโดจีน ได้มีการนำพระซึ่งมีจำนวนมากส่งไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายไปยังเหล่าทัพต่างๆ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่สายตาผู้ที่เข้าร่วมทัพ และบอกเล่าต่อเนื่องกันปากต่อปาก ทำให้พระวัดท้ายตลาดได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จนปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยมสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาไทยไปแล้ว

ข้อสังเกตที่จะฝากไว้ในการพิจารณา “พระวัดท้ายตลาด” ประการหนึ่ง คือ นอกจากพระที่นำมาแจกจ่ายเมื่อคราวสงครามอินโดจีนแล้ว ยังมีการนำพระบางส่วนไปบรรจุในกรุพระเจดีย์ตามวัดต่างๆ อาทิ วัดตะล่อมและวัดธนบุรี เป็นต้น ดังนั้น จากสภาพแวดล้อมและสภาวะภายในกรุแต่ละกรุที่แตกต่างกัน องค์พระจึงมีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกันด้วย เช่น พระที่นำไปบรรจุไว้ที่วัดตะล่อม ซึ่งจะบรรจุใต้ฐานชุกชีคลุกอยู่กับปูนขาว ทำให้เวลานำองค์พระออกมา ผิวขององค์พระจึงถูกปูนขาวจับอยู่โดยทั่วไป แลดูไม่เข้มขลังเหมือนกับพระที่ออกจากกรุวัดท้ายตลาด ความนิยมจึงลดหลั่นแตกต่างกันไปครับผม


 
ราคาปัจจุบัน :     1,350 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    him2510 (253)

 

Copyright ©G-PRA.COM