(0)
เหรียญในหลวง 3รอบ ตอกโค็ต มีตุ้งติ้ง สวยเดิมๆครับ #3






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญในหลวง 3รอบ ตอกโค็ต มีตุ้งติ้ง สวยเดิมๆครับ #3
รายละเอียด..... เหรียญอนุสรณ์มหาราช รัชกาลที่ ๙ เฉลิมพระชนม์พรรษาครบ ๓ รอบ ปี ๒๕๐๖ เหรียญอนุสรณ์มหาราชรัชการที่ 9 ครบ 3 รอบ ปี 2506 หรือที่คนชอบเรียกว่า เหรียญเสมา 3 รอบ รัชกาลที่ 9 เหรียญนี้เป็นเหรียญที่ระลึก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 3 รอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เป็นเหรียญที่ได้ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ ถึง 2 วาระด้วยกัน โดยพระคณาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้น เช่น -- อาจารย์ทิม วัดช้างไห้ -- หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม -- หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม -- พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ -- หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก -- พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง -- หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน ฯลฯ

..... เหรียญที่ระลึก “เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๖” เหรียญนี้นับว่าเป็นเหรียญที่เราพบเห็นกันบ่อยๆและหาได้ง่ายพบเห็นกันจนชินตา แต่ลึกๆแล้วถ้าลองได้ศึกษาดูจะพบว่ามีความน่าสนใจมากที่สุดเหรียญหนึ่งเลยทีเดียว

..... ก็เพราะเป็นเหรียญรุ่นแรกที่มีการผลิตออกมาโดยมีเหรียญที่ทำเป็นเนื้อทองคำออกมาด้วย ซึ่งจัดเป็นเหรียญทองคำเหรียญแรกที่เป็นเหรียญที่ระลึกในสมัยรัชกาลที่ ๙ ครับ

..... และหากท่านเคยสังเกตไหมครับว่าเหรียญที่ประดับหน้าอกนายทหารและนายตำรวจแทบทุกนายที่เราเห็นจะต้องมีเหรียญนี้ร่วมอยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะเห็นห้อยเดี่ยวเด่นเป็นสง่าอยู่เสมอเพราะนอกจากจะเป็นเหรียญที่ระลึกปกติธรรมดาแล้วเหรียญนี้ยังผ่านการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธถึงสองครั้งสองคราด้วยกัน

..... หากต้องเอ่ยชื่อถึงคณาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกเพราะแต่ละท่านนั้น ล้วนแต่ผ่านพิธีการปลุกเสก “พระ ๒๕ พุทธศตวรรษ” ในปี ๒๕๐๐ ซึ่งเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทยมาแล้วทั้งนั้น โดยครั้งแรกมีพิธีเมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ พ.ย. ๒๕๐๖ และครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๕-๗ เม.ย. ๒๕๐๗ ซึ่งถือว่าเป็นพิธืหลวงมีขั้นตอนทั้งพิธีพุทธพิธีพราหมณ์อย่างสมบูรณ์ครับ เหรียญที่ผลิตออกมามีลักษณะที่เรียกกันง่ายๆว่า “เหรียญอาร์ม” มีด้วยกัน 3 เนื้อคือเนื้ออัลปาก้าที่พบกันบ่อยที่สุด เนื้อเงินนับว่ามีน้อยมาก และเนื้อทองคำที่หายากและมีราคาสูงน้ำหนักเหรียญ 16-17 กรัม จัดเป็นของดีที่ยังพอหาได้และราคายังไม่แพงในเนื้ออัลปาก้า เนื้อเงินไม่ต้องพูดถึงหายากมากทีเดียว ส่วนเนื้อทองคำมีของปลอมออกมาให้เห็นเป็นระยะๆจะซื้อหาต้องดูให้ละเอียดครับ เหรียญที่โพสต์มาเป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า เนื้อเงิน และเนื้อทองคำตามลำดับครับ

..... พิธีปลุกเสกใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ 2 วาระด้วยกันคือ 1. ครั้งแรกวันที่ 29-30 พ.ย.2506 และครั้งที่ 2. ระหว่างวันที่ 5-6-7 เมษายน 2507

พิธีครั้งที่ 1

-- รายนามพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสก วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2506 ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ

1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
2. หลวงพ่อพระครูโพธิสารประสาธน์ วัดโพธิสัมพันธ์ บางละมุง ชลบุรี
3. หลวงพ่อพระวรพจรน์ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
5. หลวงพ่อพระราชหระสิทธิคุณ วัดราชธานี สุโขทัย
6. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์ )วัดดอนยายหอม นครปฐม
7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
8. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขวัญ ฉวาง นครศรีธรรมราช
9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี

พิธีครั้งที่ 2

-- รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 5 เมษายน 2507

1. พระสุเมธมุนี เจ้าคณะวัดบางหลวง ปทุมธานี
2. พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง ธนบุรี
3. พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
4. หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน เพชรบูรณ์
5. พระครูนนทกิจวิมล ( หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
6. หลวงพ่อบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
7. พระครูพุทธมนต์วราจารย์ (พระปลัดสุพจน์) วัดสุทัศน์ พระนคร
8. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์เชียงราก ปทุมธานี
9. หลวงพ่อหอม วัดขากหมาก ระยอง -รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่

6 เมษายน 2507 มีดังนี้

1. พระครูพิทักษ์วิการกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
2. พระครูสถาพรพุทธมนต์(หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม บางเลน นครปฐม
3. พระครูธรรมิตรนุรักษ์ วัดเขาหลัก ท่าศาลา นครศรีธรรมราช
4. พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถีร์) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
5. พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
6. หลวงพ่อสำเภา วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี
7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
8. พระมุจรินทร์โมลี (หลวงปู่ดำ) วัดมุจรินทร์ หนองจิก ปัตตานี

-รายนามพระคณาจารย์ที่อาราถนามาปลุกเสกวันที่ 7 เมษายน 2507

1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก บางไทร อยุธยา
2. พระครูโพธิสารประสาธน์ (อาจารย์บุญมี) วัดโพธิสัมพันธ์ ชลบุรี
3. พระวราพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงพ่อวัดป่า) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
5. พระราชประสิทธิคุณ (หลวงพ่อทิม) วัดราชธานี สุโขทัย
6. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
8. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพน พระนคร
9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ โคกโพธิ์ ปัตตานี

..... นอกจากนี้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ยังได้นำเหรียญมหาราชนี้ส่วนหนึ่งพระราชทานแก่ ตำรวจตระเวนชายแดนและคณะแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ใน พอ.สว. (แพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์) โดยด้านหลังเหรียญจะตอกอักษรพระปรมาภิไธยย่อว่า "สว" ไว้ด้วย ส่วนใหญ่จะอยู่ทางขวามือด้านหลัง

..... เหรียญที่สมเด็จย่า นำไปพระราชทานนี้ ได้ผ่านการอธิษฐานจิตจากพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดอุดมสมพร อีกครั้งหนึ่ง ทำให้การเล่นหาแพงกว่าเหรียญที่ไม่มีคำว่า "สว"

..... เหรียญอนุสรณ์มหาราชนี้ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกมาแล้วที่วัดพระศรีศาสดาราม (วัดพระแก้ว) จากพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ทำให้เหรียญมหาราชนี้ ปรากฏกฤษดาภินิหารด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายอยู่เสมอๆจนเป็นที่กล่าวขวัญทั่วไป
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,900 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 06 มี.ค. 2560 - 16:50:31 น.
วันปิดประมูล - 15 มี.ค. 2560 - 13:28:37 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลaeakarat (1.3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,900 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    srine (253)

 

Copyright ©G-PRA.COM