(0)
สมเด็จนางพญา สก. ปี 2519 (พิมพ์ใหญ่) สุดยอดพิธี และมวลสาร!!! (พร้อมซองเดิม)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จนางพญา สก. ปี 2519 (พิมพ์ใหญ่) สุดยอดพิธี และมวลสาร!!! (พร้อมซองเดิม)
รายละเอียดสมเด็จนางพญา สก. พ.ศ.๒๕๑๙

สุดยอดแห่งมวลสารและพิธีกรรม

หากยกไว้เสียแต่ "พระสมเด็จจิตรลดา" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างด้วยฝีพระหัตถ์

และทรงอธิษฐานด้วยพระองค์เองเมื่อราวปี 2508-2512 แต่เพียงรุ่นเดียวแล้ว

“พระเครื่องแห่งกษัตริย์” ที่ในหลวง

- ทรงมีพระราชดำริ

- ทรงมีพระบรมราชานุญา

- ทรงพระราชทานมวลสาร

- ทรงพระสุหร่ายด้วยพระองค์เองในยุคนี้สมัยนี้

ก็ยากอย่างที่สุดที่จะมี “พระเครื่องแห่งกษัตริย์” แบบใดรุ่นใด ที่จะถึงพร้อมด้วยองค์คุณแห่ง “

พระวิสัยทัศน์”,“พระราชปัญญา”, พระราชบารมี” และ “พระบรมเดชานุภาพ”

แห่งองค์พระนวบรมมหากษัตริยาธิราชเจ้า พระองค์ปัจจุบันเป็นการ “โดยตรง” เสมอเหมือนด้วย

“พระอุณาโลมทรงจิตรลดา” และ “พระนางพญา สก” ที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์

ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในจัดสร้างได้เมื่อปี พ.ศ. 2519

และเป็นพระที่มีเนื้อหามวลสารดีเยี่ยมที่สุดเท่าที่คณะบุคคลจะพึงทำได้พระมหากรุณาธิคุณ

จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พุทธลักษณะ

พระสมเด็จนางพญา ส.ก. ได้จำลองแบบมาจากพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของกรุตาเถรขึงหนังสุโขทัย

ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย

ด้านล่างมีอักษรนูนเป็นอักขระขอมว่า “เอ ตัง สะ ติง” อันเป็นหัวใจของกรณียเมตตาสูตร

ด้านหลังเป็นพระบรมนามาภิไธยว่า ส.ก.อยู่ใต้พระมหามงกุฎ

ขนาดพระมีสองพิมพ์ คือ

พิมพ์ใหญ่ สูง 2.7 ซม. กว้าง 2.2 ซม. หนา 0.4 ซม.

ส่วนพิมพ์เล็กสูง 2 ซม. กว้าง 1.6 ซม. หนา 0.4 ซม.

ประวัติความเป็นมา

เมื่อ พ.ศ. 2518 วัดบวรนิเวศวิหารได้ทำการรื้อกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถทั้งของวัดบวรฯ เอง

และของคณะรังษี (ซึ่งเดิมก็คือวัดบวรรังษี หากภายหลังได้ยุบรวมมาเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร)

แล้วนำกระเบื้องลงมากองไว้ วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธี

ที่วัดบวร ฯ ทรงทอดพระเนตรเห็นกระเบื้องเก่าอายุนับร้อยปี ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ

ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาเนิ่นนาน อบด้วยกระแสพุทธมนต์ที่พระภิกษุทำวัตรเช้า-เย็น

ซึมซับพิธีพุทธาภิเษกมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันพิธี ที่สำคัญ

คือพระองค์ก็ทรงผนวชภายใต้ร่มเงาของกระเบื้องชุดนี้ก่อนที่จะถูกรื้อลงมา จึงมีพระราชดำรัสว่า

“" กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง 3 พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย” "

ด้วยพระราชดำรัสนี้เอง ทำให้คณะพระภิกษุและกรรมการวัดบวรฯ และสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย

จึงได้คิดสร้างพระผงสมเด็จนางพญาขึ้นรับสนองเสมือนหนึ่งเป็นพระบรมราชโองการ

แล้วดำเนินการจัดสร้างทันที โดยกำหนดแบบพิมพ์และขนาด “พระจิตรลดา” ทุกประการ

ด้วยการนำผงพระราชทานและผงศักดิ์สิทธิ์ 199 ชนิด มาผสมกับกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถดังกล่าว

และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “ส.ก” มาประดิษฐานไว้ด้านหลังขอ

พระสมเด็จนางพญา ส.ก.

สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างนั้นเพื่อนำรายได้จากการบูชาพระสมเด็จและนางพญา ส.ก.

ไปก่อตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อนำดอกผลมาใช้ในการศึกษาของพระและเณรที่วิทยาลัยสงฆ์ ที่อำเภอวังน้อย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีความอัตคัต สืบเนื่องจากเมื่อปี 2516 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ณ จังหวัดอยุธยามีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา

ปราศจากต้นไม้ น้ำท่วมทุกปี ทั้งยังมีปัญหาน้ำดื่มที่ขาดแคลน ปัญหาการบิณฑบาต เนื่องจากวิทยาลัย

อยู่ห่างจากหมู่บ้าน ในการนี้ทางมูลนิธิจึงได้คิดสร้างพระสมเด็จนางพญาขึ้นจำนวนหนึ่ง

เพื่อหารายได้มาช่วยในวัตถุประสงค์ดังกล่าว รายได้จากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนครั้งนี้

จะนำไปจัดตั้งเป็นทุนมูลนิธิเพื่อหาดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ตามโครงการดังนี้

1. สร้างอาคารเรียนสำหรับพระภิกษุและสามเณร

2. ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร

3. ขยายโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้แพร่หลายทุกจังหวัด

4. เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านพระธรรมฑูตและหนังสือต่าง ๆ

5. เป็นค่าภัตตาหาร

เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯ เมื่อวันที่ 5 – - 11 ก.ค. 2519

ในวันที่ 12 กค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรฯ

พิธีการสร้างวัตถุมงคล หรือการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ จัดพิธีอย่างใหญ่โต

เต็มไปด้วยความเข้มขลังของพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก

อย่างเช่นในพิธีพุทธาภิเษกพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา

พระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นพร้อมกับพระสมเด็จนางพญา สก อันโด่งดังเมื่อปี พ.ศ.2519

ครั้งนั้นได้จัดให้มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ถึง 7 วัน 7 คืน

ระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม พ.ศ.2519

มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกหลายรูป โดยเฉพาะ "หลวงปู่โต๊ะ" ได้มาร่วมปลุกเสกถึง 5 วันด้วยกัน

ประกอบด้วย

1. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่

2. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย

3. พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา

4. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี

5. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย

6. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

7. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

8. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ

9. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด

10. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม

11. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์

12. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย

13. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม

14. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์

15. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย

16. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

17. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย

18. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

19. พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี

20. พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จ.อุบลราชธานี

21. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร

22. พระอาจารย์สมชาย วัดราษฎร์บุรณคุณาคาม (เขาสุกิม) จ.จันทบุรี

23. พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ฯ จ.สุพรรณบุรี

24. พระศีลขันธโสภณ (สนิท) วัดศีลขันธาราม

25. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม

26. พระญาณจักษุ (ผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ

27. พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ

28. พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพฯ

29. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ

30. หลวงพ่อซ่วน วัดพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

31. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น

32. พระอาจารย์ไสว สุวโร วัดป่าสิริสาลวัน จ.อุดรธานี

33. หลวงปู่จันทร์ วัดป่ามะขาม

ที่ว่ามวลสารดีนั้น พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดามีมวลสารมากมายกว่า 200 ชนิด ซึ่งคงยากที่จะเรียงร่ายให้ครบ เอาแต่เพียงที่สำคัญยิ่งคือ ผงดอกไม้พระราชทานเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2517

ผงธูปพระราชทาน ผงดอกไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ.2517 แล้วยังมีผงธูป

ผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากพระเกจิอาจารย์ เช่น ผงพระสมเด็จโตวัดระฆังฯ ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม ผงพระสมเด็จวัดสามปลื้ม ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ ผงพระสมเด็จ ธัมมวิตักโก ผงอิทธิเจ หลวงปู่โต๊ะและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศไทย

พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยม และลาภผลพูนทวี นอกเหนือจากมวลสารสุดยอดเยี่ยม ยังมีกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น

โดยพระสมเด็จอุณาโลม ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามแบบพระผง "จิตรลดา"

และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิมพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2519 เวลา 16.00 น. ด้วย

มวลสารสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตลดา / สมเด็จพนางพญา สก. 2519

1. ผงดอกไม้พระราชทานเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2517

2. ผงธูปพระราชทาน

3. ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้า ฯ ทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในเทศกาลเข้าพรรษา 2517

4. ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้า ฯ ทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศ

5. ผงธูปและดอกไม้หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล

6. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร

7. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม

8. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์แปลง วัดป่าอุดมสมพร

9. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์อุทัย วัดป่าขอนแก่น

10. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก

11. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์แว่น วัดสุทธาวาส

12. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์สุวัจ วัดถ้ำศรีแก้ว

13. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์อุ่น วัดป่าบ้านโคก

14. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดราชบพิธ

15. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ

16. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระพระญาณสังวร

17. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

18. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระสังฆราช (วาส วาสโน)

19. ผงธูปและดอกไม้ จากห้องปฏิบัติกรรมฐาน ณ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

20. ผงดอกไม้ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

21. ผงดอกไม้ จากพระอุโสถ วัดเทพศิรินทราวาส

22. ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน และวัดอัมพวา

23. ผงดอกไม้ ผงธูปบูชาในพระบรมเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย

24. ผงนพปดลมงคลเศวตฉัตร พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศ

25. ผงพระสมเด็จโต วัดระฆัง

26. ผงพระ พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม

27. ผงพระ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

28. ผงปูนกระเทาะจากองค์พระธาตุพนม

29. ผงปูนกระเทาะจากองค์พระทอง วัดไตรมิตร

30. ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม

31. ผงพระวัดสามปลื้ม

32. ผงพระหลวงปู่โต๊ะ

33. ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ

34. ผงธูป ทองเปลว ศาลกรมหลวงชุมพร ฯ จ.ชุมพร

35. ผงธูป ทองเปลว พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี

36. ผงกระเบื้องหลังคาวิหาร วัดพระบรมธาตุไชยา

37. ผงพระสมัยศรีวิชัย

38. ผงพระสมัยทวารวดี พบที่ใต้ฐานอุโบสถ วัดเกาะ นครศรีธรรมราช

39. ผงดอกไม้ 99 ชนิด วัดดอนรัก สงขลา

40. ผงว่าน 99 ชนิด วัดดอนรัก สงขลา

41. ผงวิเศษ จากถ้ำเสือ กระบี่

42. ผงกระเบื้อง พระธาตุลำปางหลวง

43. ผงธูป พระธาตุลำปางหลวง

44. ผงอิฐพระธาตุลำปางหลวง

45. ผงอิฐโบราณ พระปรางค์ลพบุรี

46. ผงพระเครื่องเกจิอาจารย์ จาก 16 วัด

47. ผงพุทธคุณ อธิษฐานโดย ท่านเจ้าคุณนร ฯ พิธีเสาร์ 5 ปี 2513

48. ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร

49. ผงพระ 25 พุทธศตวรรษ

50. ผงธูปดอกไม้ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

51. ผงกระเทาะ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

52. ผงตะไคร่ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

53. ผงว่าน 108 ชนิด จากนครศรีธรรมราช

54. ผงเกจิอาจารย์ จากวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช

55. ผงกระเทาะองค์พระ ในพระฐานบริเวณพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

56. ผงธูปจากพระพุทธบาท สระบุรี

57. ผงธูป จาก พระพุทธฉาย

58. ผงธูปจากที่บูชาพระพวย วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช

59. ผงธูปจากที่บูชาพระปัญญา วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช

60. ผงธูปจากที่บูชาพระศรีอาริย์ วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช

61. ผงทอง จาก พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

62. ผงทองจากพระพุทธบาท สระบุรี

63. ผงทองจากพระนอนองค์ใหญ่ วัดพระเชตุพน

64. ผงทองจากพระพุทธฉายสระบุรี

65. ผงกระเทาะจาก พระนลาฏ หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร

66. ผงกระเบื้องจากองค์พระปฐมเจดีย์

67. ผงอิฐ ปูน รัก ทอง จากพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศ

68. ผงเม็ดพระศก หลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ

69. ผงพระสมเด็จ ธมฺมวิตกฺโก



70. ผงผ่านพิธีพุทธาภิเษกสำคัญ ต่าง ๆ ได้แก่

1. พิธีพุทธาภิเษก วัดราชบพิธ ปี 2512 , 2513 , 2514

2. พิธีพุทธาภิเษก วัดหัวลำโพง ปี 2513

3. พิธีพุทธาภิเษก วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ปี 2512 , 2513

4. พิธีพุทธาภิเษก วัดธาตุทอง ปี 2513

5. พิธีพุทธาภิเษก วัดชิโนรส ปี 2512 , 2513

6. พิธีพุทธาภิเษก วัดอัมพวา ปี 2512 , 2513

7. พิธีพุทธาภิเษก วัดพิกุลทอง ปี 2513

71. ผงสตตัปดลมงคลเศวตฉัตรพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ

72. ผงกระจก , รัก จากฐานพระหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ

73. ผงทองจากองค์หลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ

74. ผงบัวหัวเสา พระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ

75. ผงลายรวงผึ้ง หน้าพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ

76. ผงกระเบื้องหลังคา พระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ

77. ผงกระเบื้องหลังคา พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวนนิเวศ

78. ผงดิน ทราย พระพุทธชินสีห์ ซึ่งในหลวงทรงเททอง ณ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

79. ผงปูน รัก ทอง กระจก จากเสา พระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ

80. ผงกระจกหน้าบัน หน้าพระอุโบสถ วัดราชบพิตร

81. ผงธูปหน้าพระไสยาสน์ วัดพระเชตุพน

82. ผงธูป ศาลลูกศร ลพบุรี

83. ผงใบลานชาญวิชา 108 คัมภีร์ วัดบวรนิเวศน์

84. ผงอิฐ ฝาผนัง พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศน์

85. ผงเกจิอาจารย์ วัดราชธิวาส

86. ผงทรายแก้ว เกาะหมู จ.ตรัง

87. ผงไม้กลายเป็นหิน จ.สุรินทร์

88. ผงตะกั่วในพิธี 100 ปี วชิรญาณานุสรณ์วัดบวรนิเวศน์ ปี 2515

89. ผงดินใจกลางเมืองหงสาวดี

90. ผงอิฐจากฐานพระพุทธบาท วัดบวรนิเวศน์

91. ผงหินทราย ในพัทธสีมาพระอุโสถ คณะบวรรังสี วัดบวรนิเศน์

92. ผงปูน ทราย เสาพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน

93. ผงจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ในอินเดีย (ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน)

94. ผงทองของท่านเจ้าคุณนร ฯ วัดเทพศิรินทร์ ซึ่งท่านอธิษฐานจิตให้ เมื่อ ปี 2513

95. ผงธูป หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ

96. ผงธูปจาก ศาลพระกาฬ ลพบุรี

97. ผงหินทรายจากขอนแก่น มีธาตุยูเรเนียม

98. ผงหินดานที่ความลึก 2220 ฟุต เชียงใหม่

99. ผงนิลกาฬ จ. กาญจนบุรี

100. ผงตะกั่ว ในพิธี 50 ปี (พระมหาสมณานุสรณ์ ปี 2513 วัดบวรนิเวศ)

101. ผงหอย 75 ล้านปี จ.กระบี่

102. ผงทองพระมงคลนิมิต ซึ่งในหลวงเททอง ปี 2515 ณ วัดบวรนิเวศ

103. ผงสะเก็ดระเบิดภูเขาไฟลาวา ฟิลิปปินส์

104. ผงกะเทาะจากองค์พระเจดีย์ วัดราชผาติการาม

105. ผงทอง พระขาว ปากพนัง นครศรีธรรมราช

106. ผงเขี้ยวหนุมาน นครศรีธรรมราช

107. ผงโมกุล ลำนารายณ์ ลพบุรี และผงโป่งขาม

108. ผงพระสมด็จแสน วัดพระเชตุพน

109. ผงดอกไม้ 108 จาก วัดโพธิ์แมน

110. ผงหิน พระบรมเจดีย์ บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย

111. ผงพระวัดพลับ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

112. ผงพระสมเด็จโต และผงพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้สะสมไว้ ตั้งแต่ 2503 - 2517

113. ผงเมล็ดพระศรีมหาโพธิ์ 100 ปี วัดบวรนิเวศ

114. ผงขี้เถ้า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 100 ปี วัดบวรนิเวศ

115. ผงทอง พระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์

116. ผงธูป ดอกไม้ที่บูชาพระของ หลวงปู่เทศ เทศก์รังสี

117. ผงทอง ผงธูป พระพุทธชินราช พิษณุโลก

118. ผงธูปจากพระอุโบสถ วัดราชาวาส

119. ผงแร่อาร์ซีโนไรท์ เชียงราย

120. ผงแร่ไบโอไรท์ อุทัยธานี

121. ผงแร่โบรไม

122. ผงแร่เฟลด์สปาร์ ตาก

123. ตะกั่ว กาญจนบุรี

124. ยิปซั่ม พิจิตร

125. ผงแร่หล็ก จากท่าลาน นครศรีธรรมราช

126. ลิกไนท์ ลำปาง

127. ผงแร่มัสโคไวท์ อุทัยธานี

128. หินดำดานน้ำมัน ตาก

129. ผงแร่ไพไรท์ เพชรบูรณ์

130. ผงแร่ไดไรฟิลไลท์ เชียงราย

131. ผงแร่สติปไนท์ ระยอง

132. ผงแร่เวฟเวลไลท์ เลย

133. สังกะสี ตาก

134. ผงแม่เหล็ก ลพบุรี

135. แร่ดินเผา ลำปาง

136. ฮโทบาไซท์ ลพบุรี

137. เพทาย จันทบุรี

138. ข้าวตอกพระร่วง สุโขทัย

139. ผงแร่แบไรท์ เลย

140. ผงแร่ดีบุก ลำปาง

141. ผงแร่ทองแดง พิษณุโลก

142. ผงแร่ฟลูออไรท์ กาญจนบุรี

143. ผงแร่แกรไพท์ ( ตะกั่วดำ) นครศรีธรรมราช

144. ผงแร่ฮีมาไดท์ สุโขทัย

145. ผงแร่เคโอลิไนท์ ชลบุรี

146. ผงแร่ลิปิโดไลท์ ชุมพร

147. ผงหินออบซิเดียม สุโขทัย

148. ผงแร่โปลิอาไนท์ เลย

149. ผงแร่ควอร์เทซ์ จันทบุรี

150. ผงแร่เทคไตท์ ภาคอีสาน

151. ผงแร่วุลแฟลม ประจวบคีรีขันธ์

152. ผงแร่พลวง กาญจนบุรี

153. ผงแร่แคลไซท์ สระบุรี

154. ผงแร่ใยหิน อุตรดิตถ์

155. ทับทิม ตราด

156. พลอยดำ จันทบุรี

157. ผงแร่ไพโรลูไรท์ กาญจนบุรี

158. ผงธูป 108 ผงว่าน 108 จากภาคอีสาน



159. ผงปลุกเสกโดย

- หลวงปู่แหวน สุจิณโณ 3 เดือน

- หลวงปู่ขาว อนาลโย 3 เดือน

- หลวงปู่บุญ ชินวังโส 3 เดือน

- หลวงปู่ฝั้น อาจาโร 3 เดือน

- พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ 3 เดือน



160. ผงธูป ผงทอง หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา

161. ผงใบพระศรีมหาโพธิ์ อินเดีย

162. ผงหินทรายลึก 600 ฟุต จากวังน้อย อยุธยา

163. ผงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

164. ผงของหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง

165. ผงหินน้ำมันใต้ทะเลลึก 1000 ฟุต

166. ผงดิน - หิน บนยอดดอยอินทนนท์ เชียงราย

167. ไมกา และข้าตอกฤาษี ที่ดอยอ่างขาง

168. ผงธูปและทราย พระธาตุดอยตุง

169. ผงอิฐใต้ฐานพพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังสี วัดบวนนิเวศ

170. ผงดอกไม้ปลุกเสกโดยหลวงปู่ขาว อนาลโย

171. ผงธนบัตร 2000 ล้านบาท

172. ผงอิฐยอดเจดีย์ยักษ์ นครศรีธรรมราช

173. เส้นพระเกศาสมเด็จพระสังฆราชหลายพระองค์

174. เส้นเกศาพระอริยสงฆ์

- สมเด็จพระญาณสังวร

- เส้นเกศาสมเด็จพระวันรัต

- เส้นเกศาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

- เส้นเกศาหลวงปู่แหวน สุจิณโณ

- เส้นเกศาพระอาจารย์ชอบ ฐานสโม

- เส้นเกศาพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

- เส้นเกศาพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปัณโณ

- เส้นเกศาหลวงปู่ขาว อนาลโย

175. ผงอิฐและกระเบื้อง พระอุโบสถ วัดราชาวาส

176. ผงอิทธิเจ หลวงปู่โต๊ะ

177. ผงเข้าพิธีเสด็จพระราชดำเนินพุทธาภิเษก สมเด็จพระนเรศวร ณ อุโบสถ วัดบวรนิเวศ 8 พ.ย. 2518

178. ผงอิฐรากฐานพระธาตุพนม

179. ผงตะไคร่ 108 เจดีย์

180. ผงดอกไม้มงคล 100 ชนิด

181. ผงว่านต่าง ๆ 100 ชนิด

182. ผงธูปในพระอุโบสถ 108 วัด

183. ผงอิฐเจดีย์พระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

184. กระเบื้องพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

185. ปูนหน้าบัน พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส

186. ผงประหลาดโบราณในถ้ำ อ.ปากท่อ ราชบุรี

187. ฉัตรพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่

188. ผงดอกไม้หน้าที่บูชาสมเด็จ ฯ และท่านเจ้าคุณนร ฯ วัดเทพศิรินทราวาส

189. ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ วัดพระศรีศาสดาราม

190. ผงเข้าพิธีพุทธาภิเษก 2513 , 2514 , 2515

191. ผงเข้าพิธีพุทธาภิเษก วัดราชผาติการาม 28 ก.ย. 2517

192. ผงเข้าพิธีพุทธาภิเษก วัดสัมพันธวงศ์ 29 ธ.ค. 2517

193. ผงเข้าพิธีพุทธาภิเษก วัดป่าอุดมสมพร 2514

194. ผงหิน ทราย วัดโบราณ เกาะบาหลี อินโดนีเซีย

195. ผงธูปไม้จันทร์ พุทธวิหาร กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

196. ผงธูป ณ อริยทีปอาราม กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

197. ผงธูป ปูชนียวัตถุ มหาธรรมโลกวิหารสมารัง อินโดนีเซีย

198. ผงสะเก็ดระเบิดภูเขาไฟ อินโดนีเซีย

199. ผงธูปในอุโบสถ วัดอามันทเมตยาราม สิงคโปร์



ผงทั้งหมดนี้ ก่อนที่จะนำไปผสมสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก. ได้ประกอบพิธีปลุกเสกผงด้วยคาถาชินบัญชร 108 คาบ และ อิติปิโส 108 คาบ ณ พระอุโบสถ วัดมกุฏกษัตริยาราม

สำหรับพระผงสมเด็จพระอุณาโลม ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามแบบพระผง ”จิตรลดา” ขนาดเท่าของจริงทุกประการ และได้ใช้ผงชนิดเดียวกับพระสมเด็จนางพญาส.ก.

พิธีพุทธภิเษก

เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯ เมื่อวันที่ 5-11 ก.ค. 2519

รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสกและเจริญพุทธมนต์

พระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตลดา - นางพญา สก. 2519



1. วันจันทร์ 5 ก.ค. 2519 เวลา 17.00 น. พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ

2. พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

4. หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา

5. พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย

6. พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย

7. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี



พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป

1. สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม

2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา

3. สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ

4. พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ

5. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม

6. พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม

7. พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ

8. พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม

9. พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์

10. พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม



2. วันอังคาร 6 ก.ค. 2519 พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี

3. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร

4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย

5. หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด

6. พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี

7. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง



3. วันพุธ 7 ก.ค. 2519 พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร

3. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย

5. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์

6. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด

7. หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ

8. หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี

9. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต

10. หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด



4. วันพฤหัสบดี 8 ก.ค. 2519 พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

3. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด

4. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต

5. พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์

6. หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี

7. หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช

8. หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย

9. พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย



5. วันศุกร์ 9 ก.ค. 2519 พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

3. หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา

4. หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ

5. หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ

6. พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี

7. หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี



6. วันเสาร์ 10 ก.ค. 2519

พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ

2. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

3. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม

4. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

5. หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

6. หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง

7. หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา



7. วันอาทิตย์ 11 ก.ค. 2519 พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

ตอนกลางวัน (เวลา 13.00 - 1600 น.)

หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม.นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว 4 ชั่วโมงเต็ม

ตอนค่ำ

1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ

2. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

3. หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

4. พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.

5. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี

6. หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.

7. พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กท



ในวันที่ 12 ก.ค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมและสุหร่าย สมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรฯ



รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป



1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม

2. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส

3. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ

4. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ

5. พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์

6. พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ

7. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม

8. พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม

9. พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส

10 พระเทพกวี วัดบวรฯ

อนึ่ง ทราบมาว่า หลวงพ่อเปลื้อง ปัญญวันโต วัดบางแก้วผดุงธรรม พัทลุง

พระอริยสงฆ์ผู้ถือ "เนสัชชิกธุดงค์" (ไม่นอน)

ตลอดชีวิตเคยกล่าวสรรเสริญพระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดา

และพระสมเด็จนางพญา สก.ชุดนี้ไว้เป็นอย่างยิ่งว่า

"เป็นพระเครื่องที่ดีมากๆ เพราะมีพระอรหันต์มาร่วมเสกตั้งแต่ 4 องค์ (ครบองค์สงฆ์) ขึ้นไป"

เคยทราบมาว่า "หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี" เคยสั่งลูกศิษย์ใกล้ชิดไว้ครั้งหนึ่งว่า

"พลังของหลวงปู่โต๊ะเพียงองค์เดียว เท่ากับพระเกจิเก่งๆถึง 20-30 องค์มารวมกัน"

ด้วยเหตุฉะนี้ ใครที่ยังหาพระหลวงปู่โต๊ะแท้ๆยังไม่ได้ หรือไม่แน่ใจว่า พระที่ดูเหมือนจะ "เนื้อใช่พิมพ์ใช่" แต่จะ "ใช่" คือมี "พลังจิต" ของท่านประจุไว้ "ภายใน"

พระสมเด็จทรงจิตรลดา และ พระนางพญา ส.ก. นั้น เป็นพระที่มีเนื้อหามวลสารดีเยี่ยมที่สุดเท่าที่คณะบุคคลจะพึงทำได้ โดยมีมวลสารหลักคือกระเบื้องพระอุโบสถของทั้งสองหลังและยังแสวงหาผงพุทธคุณต่าง ๆ

จากพระเถราจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งพระสายกรรมฐานและพระสายวิชา ว่าน-ยา ที่รวมแล้วมีกว่าพันชนิดมิใช่ 108 ดังที่นิยมทั่วไป แร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศจากสถานที่ต่าง ๆ ทุกมุมเมืองเกือบสองร้อยรายการ

เส้นเกศาของพระสุปฏิปันโนซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของพุทธศาสนิกชน องค์หลักก็คือ เส้นพระเกศาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ย้อนยุคขึ้นไปหลายพระองค์ เส้นเกศาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ เป็นต้น

แม้ผงอิทธิเจอันลือลั่นว่าขลังนักของพระเดชพระคุณพระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินทวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี บางกอกใหญ่ ธนบุรี ท่านก็เมตตามอบให้มาผสมเนื้อตั้งชามใหญ่ และยังมีผงวิเศษต่าง ๆ

ที่ไม่สามารถกล่าวได้หมด แต่เป็นมวลสารที่ไม่อาจหาได้ในพิธีกรรมไหน ๆ อีกแล้วโดยง่าย เช่น ผงฉัตรจากพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ ผงหินน้ำมันจากใต้ทะเลลึก 10,000 ฟุต

ผงแร่ไมก้าและข้าวตอกฤาษีที่อ่างกา ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ผงธนบัตรมูลค่า 2,000 ล้านบาท ผงดินใจกลางเมืองหงสาวดี ผงหินจากบรมเจดีย์บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย



ผงพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แท้ ๆ ผงจากสัตตัปปดลมหามงคลเศวตฉัตร ซึ่งลอยอยู่เหนือองค์พระพุทธชินสีห์

ที่สำคัญคือ ผงพระราชทานหลากชนิดจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีผงจิตรลดาอันลือลั่น

ผงที่กล่าวมาก็เป็นแค่ 1 ใน 100 ของผงทั้งหมด ไม่สามารถหยิบยกมาเล่าให้ฟังได้หมด

เพราะเนื้อที่จำกัดจริง ๆ จำได้ว่าคุณเนาว์ นรญาณ

เคยนำประวัติพระทั้งสองพิมพ์นี้เขียนลงในศักดิ์สิทธิ์เมื่อนานมาแล้ว

ซึ่งผู้เขียนอยากได้พระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะ แต่ปัจจัยน้อย ต้องรุ่นนี้เลย เสกพิธีแรก 7 วัน 7 คืน

หลวงปู่โต๊ะมาทุกวันเสกเต็มที่ทุกวัน

เห็นว่าท่านเมตตานั่งปรกให้วันละประมาณ 4 ชั่วโมง 4 ชม. ดังว่านั้นท่านนั่งรวดเดียว

ใครเคารพครูบาอาจารย์รูปใดองค์ใด โดยเฉพาะสายกัมมัฏฐาน รุ่นนี้เก็บพลังจากท่านไว้มากโขทีเดียว

ทั้งพระป่าพระเมือง พระวิปัสสนาและพระวิชา ร่วมกันอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องสองพิมพ์นี้ไว้อย่างเต็มเหนี่ยว

พระ 25 ศตวรรษ ก็ดีเลิศ แต่ถ้าดูประวัติให้ดีจะมีพระที่อัฐิเป็นพระธาตุมาร่วมพิธีน้อยมาก เป็นพระวิชาเสียเยอะ

ใครชื่นชอบพระสงฆ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ เดินตามรอยบาทพระพุทธเจ้าโดยแท้จริง ควรหาพระเครื่องรุ่นนี้มาบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล

ด้วยรายละเอียดดังกล่าวมานี้ จึงเชื่อได้แน่ว่า

"พระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดา" และ "พระสมเด็จนางพญา สก."

อันเป็นที่พระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ, พระราชปรารภ, พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง, ทรงพระสุหร่าย, ทรงจุณเจิมด้วยพระองค์เองโดยตรง

ตั้งแต่เบื้องต้นจนจบตลอดสายดุจนี้ จะเป็น "พระเครื่องแห่งกษัตริย์" ที่ทรงไว้ซึ่ง "พระราชบารมี" และ "พระบรมเดชานุภาพ"

แห่งพระบรมมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุดอย่างล้นพ้น แท้จริง และ "ของจริง" อย่างหาที่สุดมิได้

และยิ่งการสร้างพระสมเด็จพระอุณาโลมฯและพระสมเด็จนางพญาสก.ในครั้งนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของสมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยที่ยังเป็นที่สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็น "พระอริยสงฆ์กลางกรุง" ที่แม้แต่พระอรหันตเจ้าอย่าง "หลวงปู่ชอบ ฐานสโม" วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย ยังชื่นชมอย่างยิ่งว่า "สังฆราชองค์นี้ดีที่สุด" ในทุกขั้นตอน จึงเป็นอันมั่นใจในความ "บริสุทธิ์" และ"พุทธคุณ" อันยอดยิ่งในพระ"ทุกๆองค์"ได้อย่างสิ้นสงสัย

ขอขอบคุณ

1. นิตยสารนะโม ฉบับที่ 479 หน้าโฆษณา ”ฉ” (หน้าสี)

2. หนังสือ ”พระเครื่องดี 2 ของดีราคาถูก” โดย ส.องครักษ์

สำนักงานนิตยสารโอม “พระนางพญา ส.ก. วัดบวรนิเวศวิหาร” หน้าที่ 80 - 84 ม.

3. เวปไซด์ต่างๆและเจ้าของข้อมูลทุกท่าน
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน660 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 28 มิ.ย. 2561 - 10:39:35 น.
วันปิดประมูล - 30 มิ.ย. 2561 - 07:24:06 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtiktak25 (801)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     660 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    mongkolratt (337)

 

Copyright ©G-PRA.COM