(0)
พระยอดธงกรุวัดไก่เตี้ย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระยอดธงกรุวัดไก่เตี้ย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
รายละเอียดพระยอดธงกรุวัดไก่เตี้ย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี แตกกรุออกมาอย่างเป็นทางการโดยวัดเปิดให้เช่าบูชา ในปี2529 องค์ละประมาณ สองพันบามเพื่อสมทบทุนสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมแก่พระสงฆ์โดยบรรจุอยู่ในกล่องกำมะหยี่สีน้ำเงินอย่างดีโดยพระมีจำนวนเหลืออยู่ไม่มากนักหลังจากถูกลอบขุดเจาะออกไปก่อนหน้านี้ คากว่าจำนวนน่าจะไม่เกินพันองค์ ผู้ที่บวชเรียนที่วัดนี้ในช่วงปี 2528-2530หลังจากลาสิกขาบทออกมาแล้วก็จะได้รับมอบพระยอดธงกลับมาบูชากันคนละองค์

ตำนานพระยอดธง พระกรุเก่าอันทรงคุณค่าของชาวรามัญ
การมรณภาพของพระสงฆ์เป็นเรื่องสำคัญของชาวมอญเนื่องเพราะชาวมอญให้ความเคารพพระสงฆ์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ชาวมอญเชื่อกันว่าพระสงฆ์เป็นผู้ทรงศีล จะไม่เผาแบบคนทั่วไป จะต้องสร้างเมรุลอยและปราสาทตามสมณศักดิ์ พระรูปใดเป็นที่เคารพนับถือตั้งอยู่ในจริยา วัตรอันงดงาม ศิษยานุศิษย์จะสร้างประสาทให้ถึง ๙ ยอด เมื่อสร้างปราสาทเสร็จจะมีพิธีชักปราสาท เพื่อสักการะเจ้าที่และเพื่อเป็นสิริมงคลกับงาน ในการทำพิธีชักปราสาทจะทำประมาณกุมภาพันธ์ หรือมีนาคมก่อนสงกรานต์ ดังนั้นศพส่วนใหญ่จึงเป็นศพเก็บ นอกจากนั้นผู้ที่ตายจากการศึกหรือเจ็บป่วยตายก็จะไม่เผาโดยทันทีแต่จะเก็บศพเอาไว้อย่างน้อย1ปี
ศพที่ถูกเก็บไว้นั้นชาวมอญจะมีการตีหน้ากากขึ้นปิดหน้าศพหน้ากากนี้จะทำด้วยทองคำ นาค เงินและตะกั่วตามฐานะของผู้ตาย เมื่อนำศพมาเผาที่วัดหน้ากากเหล่านี้ก็จะถูกเก็บรวบรวมแยกไว้ หน้ากากตะกั่วที่มีจำนวนมากก็จะถูกหลอมหยอดเป็นเต้าคล้ายฝาขนมครกเก็บเอาไว้ เมื่อถึงวาระสำคัญเช่นต้องออกศึกทางวัดก็จะทำพิธีมีการสร้างพระเครื่องขึ้นมา โลหะทอง นาค เงิน มักจะนำไปสร้างเป็นพระชัยวัฒน์แต่ไม่ได้ตัดเดือยออกคนรุ่นหลังจึงเรียกว่าพระยอดธง ส่วนตะกั่วที่หลอมเป็นเต้าเอาไว้ก็นำไปเทเป็นพระท่ากระดาน พระบางส่วนก็แจกจ่ายให้ผู้ที่จะต้องไปออกศึกสงครามเมื่อเสร็จศึกแล้วรอดกลับมาก็จะนำพระมาบรรจุกรุไว้ที่วัด ส่วนพระที่ไม่ได้แจกจ่ายก็จะนำบรรจุกรุเลยโดยมีการทาชาดปิดทอง บางองค์ก็จะมีการป้ายตาองค์พระด้วยชาดแดงเป็นการเบิกพระเนตร พระที่ถูกสร้างขึ้นมาจะมีการทำพิธีพุทธาภิเษกอย่างถูกต้องตามความเชื่อเนื่องจากต้องการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยังยืนสืบต่อไปในกาลข้างหน้าพระเครื่องที่ถูกสร้างมาจึงมีพุทธานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันเป็นอย่างสูง ประสบการณ์ของพระยอดธงและท่ากระดานนั้นมีให้เห็นจนเจนตา
จะเห็นได้ว่าพระยอดธงที่แท้จริงนั้นไม่ใช้แค่เห็นพระมีเดือยโผล่ออกมาให้เห็นก็เรียกพระยอดธงกันไปหมด เพราะตั้งแต่วัสดุที่นำมาสร้างก็มีที่มาที่ไปมีขั้นตอนการปลุกเสก ส่วนพระยอดธงเทียมนั้นมีทั้งที่ทำเก๊ขึ้นมาในยุคหลังกับไปนำเอาพระบูชาเนื้อทองคำ นาค เงินขนาดเล็กสมัยอยุธยาที่เป็นพระมีเดือยปักอยู่บนฐานที่ทำจากครั่งและบุรอบฐานด้วยแผ่นเงินหรือทองพระประเภทนี้จะเรียกว่าพระแก้บนก็ได้ถูกนำมาถอดฐานออกบางองค์ก็จะเห็นตรงใกล้เดือยหรือใต้องค์พระมีครั่งติดอยู่ พระแก้บนแบบนี้เป็นพระที่ไม่ได้บรรจุกรุผิวพรรณจึงสะอาด คนทำจะใช้เครื่องมือช่างแต่งซ้ำตามองค์พระแล้วมาหลอกขายเป็นพระยอดธงกันมานานหลายสิบปี
ส่วนพระท่ากระดานนั้นจำลองมาจากพระประธานศิลปแบบมอญที่เป็นพระพุทธรูปสวมชฎานั่งปางมารวิชัยที่เป็นรูปแบบในวัดมอญที่พบเห็นกันทั่วไป มีการแต้มชาดสีแดงที่ตาเพื่อเบิกพระเนตร ไม่ใช่ที่บอกว่าสร้างขึ้นโดยฤาษีตาไฟแต่อย่างใด วัดเก่าในจังหวัดปทุมธานีแทบจะทุกเจดีย์จะมีพระท่ากระดานบรรจุกรุเอาไว้โดยเฉพาะกรุของวัดสิงห์นั้นมีพระท่ากระดานที่เป็นเอกลักษณ์ด้านหลังมีรอยกาบหมาก ทาชาดแดงและปิดทอง ถ้าพระท่ากระดานคือเอกลักษณ์ของมอญเมืองกาญจนบุรี พระยอดธงก็คือเอกลักษณ์ของมอญเมืองปทุมธานี..............พระยอดธงกรุวัดไก่เตี้ย ปทุมธานีเป็นพระศิลปะอู่ทองบริสุทธิ์มีอิทธิพลของศิลปะอยุธยาตอนต้นอย่างชัดเจน มีประสบการณ์สูงเล่าขานกันมานาน ปัจจุบันจึงมีพระเก๊พระเลียนแบบให้เห็นหลายฝีมือ อีกทั้งเซียนน้อยเซียนใหญ่พยายามเอาพระกรุวัดต่างๆมายัดเป็นพระยอดธงกรุวัดไก่เตี้ย ปทุมฯกันให้ดาษดื่นเพราะของแท้ๆตัวจริงๆหายากมาก คนพื้นที่ใครมีก็หวงไม่ค่อยยอมปล่อยกันออกมา คนอยากได้มีเยอะ เซียนทั้งหลายก็เลยพยายามยัดวัดกันจนเห็นแล้วทนไม่ไหว ในฐานะคนปทุมโดยกำเนิดและเห็นพระวัดไก่เตี้ย มาตั้งแต่ยังเล่นพระไม่เป็น จึงขออนุญาตนำภาพพระแท้มาเผยเพร่เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานการสะสมอย่างถูกวิธีครับ

...............................................................................................................................................................

พระยอดธงกรุวัดไก่เตี้ยปทุมธานี

ตำนานพระยอดธงพระกรุทรงคุณค่าของชาวมอญ
ตำนานพระยอดธงพระกรุทรงคุณค่าของชาวมอญ : ปกิณกะ พระเครื่อง โดยฐกร บึงสว่าง.
การมรณภาพของพระสงฆ์ เป็นเรื่องสำคัญของ ชาวมอญ หรือ ชาวรามัญ เนื่องเพราะชาวมอญให้ความเคารพพระสงฆ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ชาวมอญเชื่อกันว่าพระสงฆ์เป็นผู้ทรงศีล จะไม่เผาแบบคนทั่วไป จะต้องสร้างเมรุลอย และปราสาทตามสมณศักดิ์

พระสงฆ์รูปใดเป็นที่เคารพนับถือ ตั้งอยู่ในจริยาวัตรอันงดงาม ศิษยานุศิษย์จะสร้าง “ประสาท” ให้ถึง ๙ ยอด เมื่อสร้างปราสาทเสร็จแล้วจะมี “พิธีชักปราสาท” เพื่อสักการะเจ้าที่และเพื่อเป็นสิริมงคลกับงาน ในการทำ “พิธีชักปราสาท” จะทำประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม ก่อนสงกรานต์ ดังนั้นศพส่วนใหญ่จึงเป็นศพเก็บ นอกจากนั้นผู้ที่ตายจากการศึก หรือเจ็บป่วยตาย ก็จะไม่เผาโดยทันที แต่จะเก็บศพเอาไว้อย่างน้อย ๑ ปี ศพที่ถูกเก็บไว้นั้นชาวมอญจะมีการตี “หน้ากาก” ขึ้นปิดหน้าศพ หน้ากากนี้จะทำด้วยทองคำ นาก เงิน และตะกั่ว ตามฐานะของผู้ตาย

เมื่อนำศพมาเผาที่วัดหน้ากากเหล่านี้ก็จะถูกเก็บรวบรวมแยกไว้ หน้ากากตะกั่วที่มีจำนวนมาก จะถูกหลอมหยอดเป็นเต้า คล้ายฝาขนมครก เก็บเอาไว้

เมื่อถึงวาระสำคัญ เช่น ต้องออกศึก ทางวัดจะทำพิธีมีการสร้าง พระเครื่อง ขึ้นมาโลหะทอง นาก เงิน เหล่านี้มักจะนำไปสร้างเป็น พระชัยวัฒน์ แต่ไม่ได้ตัดเดือยออก คนรุ่นหลังจึงเรียกว่า พระยอดธง ส่วนตะกั่วที่หลอมเป็นเต้าจะเอาไปเทเป็น พระท่ากระดาน พระบางส่วนจะแจกจ่ายให้ผู้ที่จะต้องไปออกศึกสงคราม

เมื่อเสร็จศึกแล้วรอดกลับมา ก็จะนำพระมาบรรจุกรุไว้ที่วัดส่วนพระที่ไม่ได้แจกจ่าย จะนำบรรจุกรุเลย โดยมีการทาชาด (สีแดง) ปิดทอง

พระบางองค์จะมีการป้ายตาองค์พระด้วยชาดแดง เป็นการเบิกพระเนตร

พระที่สร้างขึ้นมา จะมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างถูกต้อง ตามความเชื่อ เนื่องจากต้องการสืบทอดพระพุทธศาสนา ให้ยั่งยืนสืบต่อไปในกาลข้างหน้า

พระเครื่องที่สร้างมา จึงมีพุทธานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันเป็นอย่างสูง

ประสบการณ์ของ พระยอดธง และ พระท่ากระดาน นั้นมีมากมายให้พบเห็นจนเจนตาจะเห็นได้ว่า พระยอดธง ที่แท้จริงแล้ว ไม่ใช่แค่เห็น พระมีเดือย โผล่ออกมาให้เห็นก็เรียก พระยอดธง กันไปหมด เพราะตั้งแต่วัสดุที่นำมาสร้างก็มีที่มาที่ไป มีขั้นตอนการปลุกเสกส่วน พระยอดธง ของเทียมนั้น มีทั้งที่ทำเก๊ขึ้นมาในยุคหลัง กับไปนำเอาพระบูชาเนื้อทองคำ นาก เงิน ขนาดเล็ก สมัยอยุธยา ที่เป็นพระมีเดือยปักอยู่บนฐาน ที่ทำจากครั่ง และบุรอบฐานด้วยแผ่นเงิน หรือทอง พระประเภทนี้จะเรียกว่า พระแก้บน ก็ได้ถูกนำมาถอดฐานออก บางองค์จะเห็นตรงใกล้เดือย หรือใต้องค์พระมีครั่งติดอยู่ พระแก้บน แบบนี้เป็นพระที่ไม่ได้บรรจุกรุผิว พรรณจึงสะอาดคนทำจะใช้เครื่องมือช่างแต่งซ้ำ ตามองค์พระ แล้วเอามาหลอกขายเป็น พระยอดธง กันมานานหลายสิบปี

ส่วน พระท่ากระดาน นั้นจำลองมาจาก พระประธาน ศิลปะแบบมอญ ที่เป็นพระพุทธรูปสวมชฎา ประทับนั่งปางมารวิชัย ที่เป็นรูปแบบในวัดมอญ ซึ่งพบเห็นกันทั่วไป มีการแต้มชาดสีแดงที่ตา เพื่อเบิกพระเนตรไม่ใช่ตำนานที่บอกว่า สร้างขึ้นโดยฤาษีตาไฟแต่อย่างใด

วัดเก่าใน จ.ปทุมธานี แทบทุกเจดีย์จะมี พระท่ากระดาน บรรจุกรุเอาไว้ โดยเฉพาะกรุของ วัดสิงห์ นั้นมี พระท่ากระดาน ที่เป็นเอกลักษณ์ ด้านหลังมีรอยกาบหมาก ทาชาดแดงและปิดทอง

ถ้าหาก พระท่ากระดาน คือ เอกลักษณ์ของมอญเมืองกาญจนบุรี พระยอดธง ก็คือเอกลักษณ์ของมอญเมืองปทุมธานี

พระยอดธง กรุวัดไก่เตี้ย จ.ปทุมธานี เป็นพระศิลปะอู่ทองบริสุทธิ์ มีอิทธิพลของศิลปะอยุธยาตอนต้นอย่างชัดเจน มีประสบการณ์สูง เล่าขานกันมานานปี

ปัจจุบันจึงมี พระเก๊พระเลียนแบบ ให้พบเห็นหลายฝีมือ อีกทั้งเซียนพระน้อยใหญ่ พยายามเอาพระกรุวัดต่างๆ มายัดเป็น พระยอดธงกรุ วัดไก่เตี้ย จ.ปทุมธานี กันให้ดาษดื่น เพราะของแท้ๆ ตัวจริงๆ หายากมาก คนพื้นที่ใครมีก็หวง ไม่ค่อยยอมปล่อยกันออกมา คนอยากได้มีมาก เซียนบางคนก็เลยพยายามยัดวัดกัน จนเห็นแล้วทนไม่ไหว

ในฐานะที่เป็นคนปทุมโดยกำเนิด พบเห็นพระวัดไก่เตี้ย มาตั้งแต่ยังเล่นพระไม่เป็น จึงขออนุญาตนำภาพ พระแท้ ของจริงมาเผยแพร่ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานการสะสมอย่างถูกวิธี

ขอขอบพระคุณข้อมูลประกอบและภาพหนังสือร่มโพธิ์จากคุณมนตรี โทณวนิก

ที่มา หนังสืมพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/212321
ชุมชนคนเล่นพระ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน25,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ส.ค. 2562 - 19:07:49 น.
วันปิดประมูล - 07 ก.ย. 2562 - 16:17:51 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkorn88 (5.6K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 ส.ค. 2562 - 19:08:11 น.



0


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 27 ส.ค. 2562 - 19:15:51 น.



https://www.facebook.com/photo.php?fbid=354988484832726&set=pcb.1775335692734553&type=3&theater&ifg=1
ประวัติเพิ่มเติมและใบประกาศงานประกวดสมัยก่อนตอนพระแตกกรุออกมาใหม่ๆ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 27 ส.ค. 2562 - 19:17:11 น.



00


 
ราคาปัจจุบัน :     25,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Shang (1.8K)

 

Copyright ©G-PRA.COM