(0)
วัดใจ เริ่มที่เคาะแรก เหรียญพิฆาตไพรี เหรียญใหญ่ รูปครุฑ เหรียญปราบศึกของเจ้าพระยานคร ( น้อย ) ขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ เริ่มที่เคาะแรก เหรียญพิฆาตไพรี เหรียญใหญ่ รูปครุฑ เหรียญปราบศึกของเจ้าพระยานคร ( น้อย ) ขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร
รายละเอียดวัดใจ เริ่มที่เคาะแรก เหรียญพิฆาตไพรี เหรียญใหญ่ รูปครุฑ เหรียญปราบศึกของเจ้าพระยานคร ( น้อย ) ขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร

เหรียญพิฆาตไพรี เหรียญปราบศึกของเจ้าพระยานคร ( น้อย ).
เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๖๔ ทางเมืองนครศรีธรรมราช ได้ระแคะระคายการเอาใจออกห่างของเจ้าเมืองไทรบุรีในสมัยนั้น ( ตนกูปะแงรัน ) จึงได้วางกุศโลบายทดสอบใจของตนกูปะแงรัน เจ้าพระยานคร ( น้อย ) ได้พบว่า ตนกูปะแงรัน เอาใจออกห่างจากรัฐบาลกรุงรัตนโกสินทร์จริง จึงได้เริ่มสงครามปราบปรามกบฎเมืองไทรบุรี ซึ่งกินเวลายาวนานถึง ๒ รัชกาล และทำสงครามทั้งหมด ๔ ครั้ง ในสงครามทุกครั้ง เจ้าพระยานคร ( น้อย ) จะได้ชัยชนะทุกครั้งในการยกทัพลงไปปราบปราม
นอกจากยุทธวิธี และ วิเทโศบายทางการฑูต ของเจ้าพระยานคร ( น้อย ) ที่เด็ด ขาด สามารถรักษาดินแดนทางตะวันตกไว้ได้ อีกสำคัญประการหนึ่ง คือ ด้านขวัญกำลัง ใจ ในการสู้รบ มีเรื่องเล่าเชิงตำนานสืบต่อกัน ของผู้เฒ่าคนแก่ๆ ที่ยังจำเรื่องราวได้ ว่า ในการศึกไทรบุรีครั้งที่ ๔ ครั้งสุดท้าย ตนกูเด่นผู้ก่อกบฎ ได้ใช้เหล็กไหลเป็นเครื่องรางของทหารฝ่ายกองกบฎ ทำให้ทหารไทยที่รักษาเมืองไทรบุรี ไม่สามารถต่อกรได้ ทำให้ฝ่ายกบฎสามารถยึดเมืองไทรบุรีได้สำเร็จ เจ้าพระยานคร ( น้อย ) ได้รับคำแนะนำจากพระเถราจารย์ผู้หนึ่ง ให้ไปเอา “ พระกรุบ้านท่าเรือ ” แจกจ่ายแก่ทหาร พร้อมกับ “ เหรียญพิฆาตไพรี ” ที่ได้สร้างขึ้น เมื่อในคราวปราบกบฎในครั้งแรก ให้ทหารพกติดตัว เมื่อทำสงครามครั้งสุดท้าย กองทัพสยามที่เมืองนครฯ ตลอดจนหัวเมืองใต้สังกัด สามารถกำชัยชนะกลับมาสู่ฝ่ายสยามได้สำเร็จ และเมื่อกองทัพเมืองนครฯ กลับมาสู่บ้านเมืองแล้ว เหล่าทหารก็ได้นำพระกรุท่าเรือ ไปคืนยังวัดโพธิ์ท่าเรือ ( ปัจจุบันคือ วิทยาลัยนาฎศิลป์
นครศรีธรรมราช ) และนำเหรียญพิฆาตไพรี ไปหว่านทิ้งในลำคลองสายต่างๆ จนหมดสิ้น ด้วยถือกันว่า เป็นเหรียญที่มีคุณในการทำลายล้าง การพกพาไว้ในครอบครัวนั้นย่อมไม่ดีแน่ๆ จึงได้นำไปจำเริญในพระแม่คงคา เพื่อระงับอานุภาพของเหรียญลง
ลักษณะของเหรียญพิฆาตไพรีนั้น ถูกจัดว่าเป็น หัวนอโมประเภทเหรียญกษาปณ์ ที่สร้างมาเพื่อการสงครามโดยเฉพาะ เหรียญนั้นมีลักษณะวงกลม มีขนาดต่างๆกัน ตั้งแต่ ๒.๓ ซม. – ๕.๕ ซม. ถ้าเป็นทหารไพร่พลทั่วไปจะมีขนาดเล็ก ถ้าเป็นหัวหมู่ นายกอง ขุนศึก ก็จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาตามลำดับยศของตน ด้านหน้าเป็นรูปพญาครุฑ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ และด้านหลัง เป็นรูปพญานาค สัญลักษณ์ประจำเมืองไทรบุรีที่มีมาแต่โบราณ เป็นลักษณะของการ “ จับเอาคู่พิฆาตของเมือง มาตัดไม้ข่มนาม ” ตามหลัก การทางพิไชยสงครามภาคไสยศาสตร์ตามตำราโบราณ
เหรียญพิฆาตไพรี ทำจากเนื้อโลหะประเภท “ ชิน ” ซึ่งเป็นการผสมโลหะ ระหว่างตะกั่ว และ ดีบุก ซึ่งอำนวยการสร้างโดยเจ้าพระยานคร ( น้อย ) ได้ผ่านการประกอบพิธีทางพิไชยสงคราม ทั้งในด้านศาสนาพราหมณ์ ที่มีพราหมณ์มาสวดพระเวท ในด้านการปราบปราม ชนะภยันตรายต่าง และ ในด้านศาสนาพุทธ ก็จะนิมนต์พระลังกาทั้ง ๔ คณะ มาเจริญพระราชปริตร ๑๒ ตำนาน ตลอดจนมงคลคาถาต่างๆ จนมั่นใจว่าเกิดอิทธิคุณขึ้นดีแล้ว เจ้าพระยานคร ( น้อย ) ในฐานะของแม่ทัพใหญ่ จึงได้แจกเหรียญพิฆาตไพรีให้กับไพร่พลในกองทัพสยามใต้ ในพิธีตัดไม้ข่มนาม ลอดโขลนทวารประตูป่า ที่วัดสัมฤทธิไชย ( ศาลามีชัย ) วัดที่ใช้ในการประกอบพิธีก่อนออกศึกในทางทิศใต้ของเมืองนคร
นอกจากเหรียญพิฆาตไพรี จะมีในลักษณะเป็นรูป ครุฑปราบนาค สำหรับการศึกที่ไทรบุรีแล้ว ยังมีเหรียญพิฆาตไพรี สำหรับปราบกบฎแขกเจ็ดหัวเมืองอีกด้วย โดยลักษ ณะของเหรียญนั้น ด้านหน้าเป็นรูป “ สิงหราช ” ตราสมุหกลาโหม สัญลักษณ์พิฆาตเมืองปัตตานี ซึ่งมี “ วัว ” นักษัตร “ ฉลู ” เป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง แต่ทางช่าง ได้ปรับจากรูป “ วัว ” เป็นรูป “ กวาง ” สัตว์ที่เป็นเหยื่อของเสือสิงห์ ไว้ด้านหลังของเหรียญแทน เหรียญพิฆาตไพรี “ สิงห์ปราบกวาง ” ถูกนำมาจัดเป็นสัญลักษณ์ในการ “ ปราบปราม ” ในด้านพิไชยสงครามภาคไสยศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราช และเมื่อเหรียญพิฆาตไพรีถูกแจกจ่ายไปในกองทัพที่ลงไปปราบเมืองแขกทางตะวันออก ก็เป็นขวัญกำลังใจ ทำให้กองทัพสยามสามารถ “ พิฆาต ” กบฎแขกเจ็ดหัวเมืองลงไปได้จนสิ้น
เมื่อเสร็จจากสงครามแล้ว เหรียญพิฆาตไพรีทั้งสองแบบ ก็ถูกนำไปกลับคืนสู่แม่น้ำลำคลอง ตามความเชื่อของคนนครในยุคโบราณฯ
ในยุคหลังถัดมา ได้มีการพบเหรียญพิฆาตไพรีในสายน้ำคลองท่าแพ คลองท่าวัง ตลอดจนลำคลองสายต่างๆ แต่เหรียญก็ไม่ได้มีจำนวนมากนัก เป็นที่หายาก และ นิยมในหมู่นักสะสมวัตถุโบราณ ของเมืองนครศรีธรรมราช
ข้อมูลโดย ภูมิ จิระเดชวงศ์

รายการพระทุกรายการ ส่ง EMS ครับ
โปรดแจ้งโอนเงิน ทางเมลล์บล้อคครับผม ไม่ค่อยสะดวกรับโทรศัพท์เวลาทำงาน

ขอบพระคุณครับ
ราคาเปิดประมูล180 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 18 มิ.ย. 2563 - 14:15:56 น.
วันปิดประมูล - 19 มิ.ย. 2563 - 15:07:36 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลhilanderkhunsri (1.6K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    popsleep (181)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM