(0)
สมเด็จวัดพระปรางค์ เนื้อดิน พิมพ์คะแนน หลังมิ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตารามร่วมเสก






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จวัดพระปรางค์ เนื้อดิน พิมพ์คะแนน หลังมิ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตารามร่วมเสก
รายละเอียดสมเด็จวัดพระปรางค์ ผสมอัฐิหลวงปู่ศรี ปี ๒๕๑๔ "พิมพ์ใหญ่"
หลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ ท่านเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่ ของสิงห์บุรี
เลยไปถึง ชัยนาท ลุ่มแม่น้ำน้อย สุพรรณ อ่างทองเชี่ยวชาญในวิปัสนากรรมฐานเป็นเลิศ
พระในยุคเดียวกับท่าน เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ หลวงจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เป็นต้น ผงของหลวงปู่ศรี ท่านจะลบผงเอง เสกเองตามตำหรับของท่าน ซึ่งเป็นผงวิเศษมาก มีอานุภาพสูงส่ง และท่านจะหวงแหนผงนี้มาก เพราะทำยากนั่นเอง ผงทีท่านทำเองก็มี ผงปฐมัง ผงอิทธะเจ ผงตรีนะสิงเห ผงพุทธคุณ เป็นต้น
ผงนี้หลังจากหลวงปู่มรณะภาพแล้ว ศิษย์ที่ได้ผงทั้งหมดไว้ คือ หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ ซึ่งหลวงพ่อทองนี้เป็นศิษย์ก้นกุฏิ ที่บวชตั้งแต่เป็นเณร จะกระทั่งเป็นพระ และหลวงปู่ศรี ได้ถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้น จนหลวงปู่ศรี มรณะภาพไป หลวงพ่อทองก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนหลวงปู่ศรีตลอดมา
จนกระทั่งหลวงพ่อทองจะจัดพิธีผูกพัทธสีมา วัดพระปรางค์ หลวงพ่อทองได้นำผงหลวงปู่ศรีที่เก็บไว้ มาผสมสร้างเป็นพระสมเด็จขึ้นมา เพื่อสมนาคุณให้กับญาติโยม ได้นำไปบูชา แล้วจัดพิธีปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่
โดยคณาจารย์ศิษย์สายหลวงปู่ศรี ทั้งหมด ๙ รูป ปรากฏว่าพระผงรุ่นนี้ได้ปรากฎพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือ ให้กับผู้ที่นำไปบูชาอย่างเอนกอนันต์ เป็นที่กล่าวขานกันมาก พระรุ่นนี้จึงหมดจากวัดอย่างรวดเร็ว กลายเป็นพระหายาก และทรงคุณค่าจนกระทั่งปัจจุบัน
ปลุกเสก พิธีเสารห้า ของวัดพระปรางค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔
พระเกจิที่มาร่วมพิธีปลุกเสก เป็นเกจิสายหลวงพ่อศรีทั้งหมดดังนี้
๑.หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์
๒.หลวงพ่อกวย วัดบ้านเเค
๓.หลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา
๔.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
๕.หลวงพ่อเจ้ย วัดห้วยเจริญสุข
๖.หลวงพ่อบัว วัดเเสวงหา
๗.หลวงพ่อพิมพ์ วัดวิหารทอง
๘.หลวงพ่อเเพ วัดพิกุลทอง
๙.หลวงพ่อเย็น วัดกลางชูศรี
พระเครื่องชุดนี้ ออกในงานสร้างอุโบสถ พิธีเสาร์ห้า ของวัดพระปรางค์ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๔ พระเกจิที่มาร่วมพิธีปลุกเสก เป็นเกจิสายหลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ ทั้งสิ้น
วัตถุมงคลที่ออกให้บูชาในครั้งนี้ มากมายหลายอย่าง ได้แก่
๑. พระสมเด็จเนื้อดินเผา พิมพ์ใหญ่หลังพระปรางค์
๒. พระพิมพ์คะแนนเนื้อดินเผา หลังมิ
๓. พระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์ใหญ่หลังพระปรางค์
๔. พิมพ์คะแนน เนื้อผง หลังมิ
๕. พระขุนแผนหลังสามมิ
๖. พระลีลาหลังมิ
๗. พระขุนแผนชมตลาดหลังมิ
๘. พระเนื้อดิน พิมพ์ปาฏิหารย์ ด้านหลังปั๊มบล็อกของสมเด็จหลังพระปรางค์ (หายากมาก)
พระเครื่องต่าง ๆ เท่าที่สืบทานได้ สืบทานได้เท่านี้ หากมีประวัติที่แน่นอนจะนำมาเพิ่มให้อีก พระชุดนี้ พระคณาจารย์แต่ละรูปที่มาร่วมปลุกเสกล้วนแล้วแต่เก่ง ๆ เป็นที่นับถือ และเป็นที่รู้จักทั้งสิ้น โดยเฉพาะหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ดังนั้นหากหาพระเครื่องที่ออกที่วัดโฆสิตารามไม่ได้ นี่ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับศิษย์ที่ศรัทธา และนับถือหลวงพ่อกวย จะหามาบูชา และครอบครอง
ใบฝอยในวันงานพิธีเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ระบุแจ้งวัตถุประสงค์การสร้าง ปีที่สร้าง จำนวนการสร้าง และมวลสารสำคัญต่างๆรวมถึงมวลสารที่สูงค่ายิ่งคืออัฐิของหลวงพ่อศรี พระผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ในสายสำคัญนี้ครับ ถึงว่ามีประสปการณ์มากมายเหลือเกิน
ส่วนกล่องที่ใส่พระตีพิมพ์ปี ๒๕๑๔ ก่อนงานพุทธาภิเศกซึ่งก็ถูกต้องแล้วคือสร้างพระให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงมาเข้าพิธีในปีรุ่งขึ้น เรื่องข้อมูลวัดพระปรางค์ผมก็ค้นคว้ามาพอสมควรเพิ่งจะมาสมบูรณ์ก็ใบเอกสารนี้ครับ แต่ยังไม่สิ้นสุดนะครับมีอย่างอื่นเพิ่มเติมจะมานำเสนอต่อไปครับ
พิมพ์ใหญ่ สร้าง ๓๓๙๙ องค์ ทำบุญ องค์ละ ๑๐๐ บาท
พิมพ์คะแนน สร้าง ๕๓๙๙ องค์ ทำบุญ องค์ละ ๑๐ บาท
มีพิธีพุทธาภิเศกโดยเชิญศิษย์ในสำนักมาร่วมนั่งปรก มีหลวงพ่อทองเป็นประธาน วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๑๕ ช่วงต้นปี
สำหรับราคาตอนปี ๑๕ เงิน ๑๐๐ บาทผมว่าแพงมากนะครับสำหรับพระสมเด็จรุ่นใหม่ แต่ว่ามีคนมาบูชากันมากก็เพราะต้องการอัฐิหลวงพ่อศรีที่ผสมในเนื้อพระนี่เอง
http://sitluangporguay.com/forum/index.php?topic=145.0
http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=2658.0
http://sitluangporguay.com/forum/index.php?topic=4256.0
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ก.ย. 2565 - 21:21:14 น.
วันปิดประมูล - 30 ก.ย. 2565 - 10:01:55 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลChocalate (1.4K)(2)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    nurseman (2.1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM