(0)
พระปิดตาหลังพระพุทธหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ









ชื่อพระเครื่อง พระปิดตาหลังพระพุทธหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
รายละเอียด พระปิดตาหลังพระพุทธหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ เนื้อตะกั่ว จ.สมุทรปราการ สร้างราวปี พศ.2450-2471 พร้อมเลี่ยมทอง

#ประวัติของหลวงพ่อเที่ยง
เกิดในปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๐ ที่บ้านบางฝ้าย ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเยาว์วัยร่ำเรียนหนังสือกับหลวงปู่บัว เจ้าอาวาสวัดบางหัวเสือ ต่อเมื่ออายุได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดบางหัวเสือ โดยมีหลวงปู่บัว วัดบางหัวเสือ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพิณ วัดบางหัวเสือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่ออ้น วัดบางหัวเสือ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จากนั้นได้จำพรรษาที่วัดบางหัวเสือ ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนพุทธาคม และวิชาแพทย์แผนโบราณจากหลวงปู่บัว ผู้เป็นอุปัชฌาย์
หลวงพ่อเที่ยงได้ร่ำเรียนวิชากับหลวงปู่บัวเพียง ๓ ปีเท่านั้น หลวงปู่บัวก็มรณภาพลง แต่ ๓ ปีที่ศึกษานั้น กล่าวได้ว่าหลวงพ่อเที่ยงได้รับการถ่ายทอดวิชาไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะในด้านการสร้างวัตถุมงคลที่สืบทอดต่อจากผู้เป็นอาจารย์
ภายหลังจากสิ้นหลวงปู่บัวไปแล้ว หลวงพ่อพิณ ฉนฺทธมฺโม ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อเที่ยง ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบต่อ ซึ่งหลวงพ่อเที่ยงได้ศึกษาวิชาต่อกับหลวงพ่อพิณ และเมื่อ หลวงพ่อพิณมรณภาพลงในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ นั้น ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเที่ยงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัด หากแต่หลวงพ่อเที่ยงไม่มีความต้องการยุ่งเกี่ยวกับการปกครอง ด้วยปรารถนาจะปฏิบัติองค์อย่างสมถะจึงขอเป็นเพียงลูกวัดธรรมดาเท่านั้น จึงได้ยกตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้แก่หลวงพ่ออยู่
แรกนั้นหลวงพ่ออยู่ไม่ยินยอมด้วยเห็นว่าหลวงพ่อเที่ยงนั้นอยู่วัดแห่งนี้มาก่อน แต่หลวงพ่ออยู่นั้นอาสุโสกว่าหลวงพ่อเที่ยง ๒ ปี ย้ายมาจากวัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร แต่หลวงพ่อเที่ยงได้อุปสมบทก่อนหลวงพ่ออยู่ ๙ วัน สุดท้ายเมื่อหลวงพ่อเที่ยงปฏิเสธเพราะเห็นว่าหลวงพ่ออยู่อาวุโสกว่าและมีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาวัดมากกว่า สุดท้ายหลวงพ่ออยู่จึงต้องรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบต่อ
หนึ่งในวัตถุมงคลที่หลวงพ่อเที่ยงได้สร้างขึ้นมา คือ พระปิดตาเป็นพระปิดตาที่ได้สร้างขึ้นตามกรรมวิธีของหลวงปู่บัวทุกประการ ซึ่งมีขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้
เริ่มจากการเก็บสะสมตะกั่วที่มีผู้นำมาถวาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตะกั่วที่ได้จากมาจากจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี ซึ่งเมื่อเก็บสะสมได้มากพอสมควรแล้ว จึงนำมาหลอมเข้าด้วยกัน ซึ่งในการหลอมนั้นจะผสมปรอทลงไปด้วย แล้วจึงเทเป็นแผ่น แห้งแล้วจึงรีดให้เป็นแผ่นเรียบ หลังจากรีดเป็นแผ่นแล้ว จึงนำมาลงอักขระตามตำราการสร้างจนครบทุกแผ่น จากขั้นตอนนี้แล้วจะนำแผ่นตะกั่วที่ลงอักขระมาแล้วไปหลอมอีกครั้งหนึ่ง และใส่ปรอทลงไปผสมด้วย แล้วจึงนำไปเทลงแม่พิมพ์เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้างพระปิดตา ตามกระบวนการสร้างอย่างของหลวงปู่บัว
พระปิดตาหลวงพ่อเที่ยง เป็นพระปิดตาที่สร้างขึ้นตามกระบวนการหล่อแบบโบราณ แม่พิมพ์ที่ใช้ในการทำแบบเป็นแม่พิมพ์แบบเบ้าประกบ ซึ่งถ้าจะถามถึงความงดงามของพระเครื่องที่สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีการหล่อแบบโบราณแล้ว อาจจะไม่สวยเท่ากับการปั๊ม หรือฉีดอย่างในปัจจุบัน แต่ธรรมชาติของเนื้อหาและรูปทรงแล้วนั้น นับได้ว่าการหล่อโบราณมีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง เมื่อแกะพระออกจากเบ้าแล้ว จะทำการตกแต่งให้เป็นที่สวยงาม จากนี้ไปหลวงพ่อเที่ยงจะนำไปปลุกเสกในกุฏิของท่านเป็นระยะเวลา ๑ พรรษา
พุทธลักษณะของพระปิดตาหลวงพ่อเที่ยงนั้น อาจแตกต่างจากรูปทรงของพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมา ด้านหน้าเป็นองค์พระควัมปติเถระประทับนั่งยองๆ ยกพระชานุ (เข่า) ตั้งทั้งสองข้าง พระชงฆ์ (แข้ง) กับพระโสภี (สะโพก) ทำเป็นเส้นคู่ข้างละเส้น ความแตกต่างของพระหัตถ์ที่ยกขึ้นปิดตา และส่วนทวารตามตำรับมหาอุตม์ ที่โดยมากมักเป็นพระพาหา (แขน) ถึง ๔ คู่ขึ้นปิดส่วนต่างๆ โดยปกติ แต่ของหลวงพ่อเที่ยงนั้นจะเป็นพระหัตถ์ (มือ) ยกขึ้นปิดพระพักตร์ (หน้า) ไว้ทั้งหมด ปิดพระกรรณ (หู) ทั้งสองข้าง และมีพระหัตถ์อีกข้างแยกจากออกจากพระกัสสปะ (ข้อศอก) ด้านซ้ายล้วงสอดลงระหว่างพระชงฆ์ (แข้ง) ที่ยกตั้งทั้งสองข้างลงมาปิดทวารหนัก ด้านหลังองค์พระจะทำเป็นพระปางสมาธิขัดราบ พระเศียรโล้นแบบพระอัครสาวก
ด้านข้าง จะเว้าโค้งไปตามสัดส่วนของลำพระองค์ถึง ๓ ส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนที่พระเศียรมีพระหัตถ์ยกขึ้นปิดพระกรรณ (หู) ส่วนที่ ๒ เป็นพระปรัศน์ หรือสีข้าง ซึ่งมีพระพาหา (แขน) ยกขึ้นแบบตั้งข้อศอก และส่วนสุดท้ายเป็นพระโสภี หรือสะโพก มีพระอรุรุ (ต้นขา) ที่ยกขึ้นในลักษณะการนั่งยองๆ ด้านใต้ฐานมีตุ่มเนื้อ ซึ่งคือส่วนที่ใช้เทตะกั่วลงพิมพ์ เป็นเนื้อล้นเกินออกมา
องค์พระโดยประมาณ ขนาดสูง ๑.๘ เซนติเมตร ส่วนกว้างระหว่างพระชานุ ๑.๒ เซนติเมตร เล็กกระทัดรัดดี
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 30,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
วันเปิดประมูล จ. - 22 เม.ย. 2567 - 21:13:24 น.
วันปิดประมูล อา. - 28 เม.ย. 2567 - 23:39:30 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล tochiro (1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 จ. - 22 เม.ย. 2567 - 21:14:28 น.



บัตรรับรองสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย


 
ราคาปัจจุบัน :     30,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    paungthong (242)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  Sinworn (220)(2) 2,500 บาท จ. - 22 เม.ย. 2567 - 22:35:34 น.
  Sinworn (220)(2) 4,000 บาท จ. - 22 เม.ย. 2567 - 22:35:59 น.
  Viyadarat24 (61) 10,000 บาท จ. - 22 เม.ย. 2567 - 23:12:14 น.
  Viyadarat24 (61) 15,000 บาท จ. - 22 เม.ย. 2567 - 23:13:03 น.
  Viyadarat24 (61) 20,000 บาท อ. - 23 เม.ย. 2567 - 09:11:57 น.
  Viyadarat24 (61) 22,000 บาท อ. - 23 เม.ย. 2567 - 09:12:22 น.
  Viyadarat24 (61) 23,000 บาท อ. - 23 เม.ย. 2567 - 09:12:35 น.
  Viyadarat24 (61) 24,000 บาท อ. - 23 เม.ย. 2567 - 09:12:46 น.
  Viyadarat24 (61) 25,000 บาท อ. - 23 เม.ย. 2567 - 09:13:10 น.
  Viyadarat24 (61) 26,000 บาท อ. - 23 เม.ย. 2567 - 09:13:59 น.
  Viyadarat24 (61) 27,000 บาท อ. - 23 เม.ย. 2567 - 18:52:08 น.
  paungthong (242) 30,000 บาท ส. - 27 เม.ย. 2567 - 23:39:30 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM