(0)
**เหรียญพระบรมธาตุดอยตุง หลัง ครูบาศรีวิชัย ปี 2516**สวยแชมป์ รมดำเต็ม






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง**เหรียญพระบรมธาตุดอยตุง หลัง ครูบาศรีวิชัย ปี 2516**สวยแชมป์ รมดำเต็ม
รายละเอียดเหรียญพระบรมธาตุดอยตุง หลัง ครูบาศรีวิชัย ปี 2516 เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวยแชมป์ครับ รมดำเต็ม น่าบูชามากครับสายนี้ เหรียญสวยแบบนี้สายตรงไม่ควรพลาดครับ

พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระเจ้าล้านทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในวันวิสาขบูชา 16 พฤษภาคม 2516 นับเป็นพิธีใหญ่มีเกจิอาจารย์ทั่วประเทศร่วมปลุกเสก อาทิ ครูบาอินทจักร วัดบ่อน้ำหลวง ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากภาค หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ฯลฯ

วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอนหรือส่วนที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอน และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร
ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะเถระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุงมีความยาว 1,000 วาปักบนยอดเขาหากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงค์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้ พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลง นับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีย์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนึ่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการบูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อ เมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยร่วมกับชาวบ้านได้ทำการบูรณไว้โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา ในปี พ.ศ.2470 โดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดส้รางวัตถุมงคลเป็นพุทธบูชาและจัดหารายได้เพื่อการบูรณะองค์พระบรมธาตุ ในปีนั้นด้วย ดังนี้ พระสิงห์หนึ่งดอยตุง ขนาด 5-9 นิ้ว พระกริ่งสิงห์หนึ่งดอยตุง ( ก้น ช ) เหรียญพระบรมธาตุดอยตุง 3 แบบ มีเนื้อทองคำ อัลปาก้า ทองแดงรมดำ ทองแดงกะไหล่ทอง พระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสรธิราช เสด็จแทนพระองค์ในการเททอง ณ มณฑลพิธีวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ วันที่ 8 มกราคม 2516 และมีพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระเจ้าล้านทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในวันวิสาขบูชา 16 พฤษภาคม 2516 นับเป็นพิธีใหญ่มีเกจิอาจารย์ท่ะวประเทศร่วมปลุกเสก อาทิ ครูบาอินทจักร วัดบ่อน้ำหลวง ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากภาค หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ ฯลฯ
ปัจจุบัน กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอน องค์พระธาตุองค์ปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคนท้องถิ่นไปทางจังหวัด และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ได้บูร ณะไว้ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง เนื่องจากพระธาตุองค์ปัจจุบัน 2 องค์ที่ตั้งอยู่เวลานี้ เป็นของใหม่ ได้มีการบูรณะเมื่อสามสิบปีเศษที่แล้ว ออกแบบโดยนายช่างสถาปนิกกรุงเทพฯ และเข้าใจว่าพระสถูปเดิมสมัยครูบาได้บูรณะไว้เมื่อแปดสิบปีที่แล้ว อาจถูกทับคล่อมอยู่ภายในองค์ปัจจุบัน ซึ่งคณะทำงานได้มีการหารือทางเจ้าคณะอำเภอเรียบร้อยแล้ว และได้ให้นำพระสถูปเดิมที่ถอดออกมา ไปตั้งไว้ที่วัดพระธาตุน้อยดอยตุง อยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์ ครูบาศรีวิชัย ให้คืนกลับมาสภาพดังเดิมให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม 2550 ในปีหน้า โดยมีงบประมาณทั้งสิ้น 21 ล้านบาท รวมค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ อาทิเช่น ปรับปรุงพื้นที่ลานพระธาตุให้กว้างขึ้น รื้อโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์ เคลื่อนย้ายพระสังกัจจาย พระพุทธรูปองค์ใหญ่ในรูปปางต่างๆ นำไปตั้งประดิษฐานในสถานที่ที่เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ฐานบันไดนาคทางขึ้น เพื่อความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชน ซึ่งไปนมัสการพระธาตุเป็นจำนวนมากของทุกปี
ราคาเปิดประมูล350 บาท
ราคาปัจจุบัน370 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 02 มิ.ย. 2552 - 11:36:47 น.
วันปิดประมูล - 04 มิ.ย. 2552 - 14:39:17 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkitty013 (13.7K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     370 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pokke (3.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM